หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดนครราชสีมา/อำเภอเมืองนครราชสีมา/ประตูชุมพล

ประตูชุมพล

สถานที่ท่องเที่ยว

ประตูชุมพล ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมา เป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ พ.ศ. 2199 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา และสร้างกำแพงประตูเมืองอย่างแข็งแรง โดยมีช่างชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมิตรประเทศกับกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบผังเมือง เมืองนครราชสีมาในขณะนั้นมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1,000 x 1,700 เมตร เดิมมีประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตู ได้แก่ ประตูพลแสนด้านทิศเหนือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูไชยณรงค์ด้านทิศใต้ และประตูชุมพลด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเหลือเพียงประตูชุมพลเท่านั้นที่เป็นประตูเมืองเก่า ส่วนอีกสามประตูได้สร้างขึ้นใหม่ ลักษณะประตูชุมพลเป็นประตูเชิงเทิน ก่อด้วยหินก้อนใหญ่และอิฐ ฉาบด้วยปูน ส่วนบนเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้า กระจังและนาคสะดุ้ง กำแพงต่อจากประตูทั้งสองข้าง ก่อด้วยอิฐ ส่วนบนสุดทำเป็นรูปใบเสมา เชื่อกันว่าหากลอดประตูนี้ 1 ครั้ง จะได้กลับมาโคราชอีกในไม่ช้า ถ้าลอด 2 ครั้ง จะได้ทำงานหรือมาอยู่ที่โคราช แต่ถ้าลอดถึง 3 ครั้ง ก็จะได้คู่ครองเป็นคนโคราช ประตูชุมพลในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมามีผังเมืองเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพง มีการสร้างประตูเมือง 4 ประตู โดยปัจจุบันคงเหลือแต่ประตูชุมพลทางทิศตะวันตกของเมืองเท่านั้นที่เป็นประตูเดิม ส่วนอีกสามประตู คือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูพลแสนหรือประตูน้ำด้านทิศเหนือ และประตูชัยณรงค์หรือประตูผีด้านทิศใต้ ได้มีการสร้างขึ้นใหม่แทนประตูเดิม ความพิเศษของประตูชุมพล คือ ตรงเหนือช่องประตู จะมีเรือนไม้หลังเล็กๆ เป็นเรือนแบบไทยมีหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา เรียกว่า “หอรบ” เอาไว้สำหรับบัญชาการรบ ส่วนของกำแพงที่ต่อไปทั้งสองข้างส่วนบนทำเป็นรูปใบเสมา ใต้ใบเสมาเจาะช่องเป็นรูปกากบาทเพื่อใช้ลอบดูข้าศึกด้านนอก และมีบันไดขึ้นหอรบ กำแพงเมืองนี้แต่เดิมได้สร้าง ล้อมรอบเมืองโคราช โดยมีคูน้ำคู่ขนานกันไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นปราการอันแข็งแกร่ง เพื่อปกป้องเมืองโคราชจากข้าศึกศัตรูมาหลายยุคหลายสมัย

อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

  14.974669,102.097889

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*