หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดสงขลา/อำเภอเมืองสงขลา/ตำหนักเขาน้อย

ตำหนักเขาน้อย

สถานที่ท่องเที่ยว

พระตำหนักเขาน้อยสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งเสด็จมาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2453 – 2458) และต่อมาดำรงตำแหน่งสมเด็จอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ (พ.ศ.2458 – 2468)ทรงสร้างโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ลักษณะเป็นตึกทรงยุโรป 2 ชั้นครึ่ง ควบคุมการก่อสร้างด้วยนายช่างชาวอิตาลี การสร้างพระตำหนักเขาน้อยใช้เวลา 8 เดือน สิ้นเงินส่วนพระองค์ไปประมาณ 4,000 บาท ภายในตำหนักตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์แบบอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศว์ เสด็จประทับ ณ ตำหนักเขาน้อย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455 เป็นต้นมา จนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักพรรดิพิมาน กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ได้เสด็จกลับไปยังเมืองหลวง เพื่อร่วมในพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเสด็จกลับไปครั้งนั้นแล้ว พระองค์ได้ประทับและดำรงตำแหน่งทางราชการในกรุงเทพมหานครตั้งแต่บัดนั้น โดยมิได้เสด็จกลับมาประทับ ณ เมืองสงขลาอีกเลย ในกาลต่อมา พระองค์ได้มอบตำหนักเขาน้อยให้เป็นสมบัติของทางราชการอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของจังหวัดสงขลา ซึ่งตำหนักเขาน้อยเคยใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 ครั้ง ครั้งแรกพระองค์เสด็จประพาสเมืองสงขลา และทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช ระหว่าง 13- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2458 และอีกครั้ง พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพิธี วิสาขบูชาที่วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช หลังจากปีพ.ศ. 2502 ตำหนักเขาน้อยที่อยู่ในความดูแลของจังหวัดสงขลาก็ไม่มีผู้ใดเข้าพักอาศัย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2507 ทางจังหวัดได้มีการปรับปรุงบูรณะให้เป็นจวนที่พักของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา โดยมีหม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ( 1 กรกฎาคม 2507 – 30 กันยายน 2515) ท่านเข้าพักเป็นคนแรก และตำหนักนี้ก็ถูกใช้เป็นบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

บริเวณเชิงเขาน้อยทางทิศใต้ ถนนสะเดา

074-330255-56

  7.208980,100.593030

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*