หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดพิจิตร/อำเภอเมืองพิจิตร/วัดท่าฬ่อ (ภาพจิตรกรรมฝาผนัง)

วัดท่าฬ่อ (ภาพจิตรกรรมฝาผนัง)

สถานที่ท่องเที่ยว

จิตรกรรม ในวัดท่าฬ่อมีวิหารเก่าที่ด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังที่สร้างขึ้น ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยภาพนี้ได้แสดงถึง พุทธประวัติขององค์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ด้วยภาพวาดนี้มีอายุเก่าแก่ยาวนาน จึงทำให้เกิดการสำรือ ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปกรพระเจ้าเข้านิพพาน 1 เดียวที่…วัดท่าฬ่อ อ.เมืองพิจิตร ปางพระพุทธรูป คือ ลักษณะของพระพุทธรูป ทำตามพระมหาปุริสลักษณะ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา แบ่งได้ตามแหล่งและยุคในประวัติศาสตร์ ดังนี้ แคว้นคันธาระ มี 9 ปาง อินเดีย มี 7 ปาง ลังกา มี 5 ปาง ทวารวดี มี 10 ปาง ศรีวิชัย มี 6 ปาง ลพบุรี มี 7 ปาง เชียงแสน มี 10 ปาง สุโขทัย มี 8 ปาง อยุธยา มี 7 ปาง รัตนโกสินทร์ มี 5 ปาง ปัจจุบัน มีพระพุทธรูปต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก รวมแล้วมากกว่า 72 ปาง ในจำนวนปางพระพุทธรูปทั้งหมด พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน หรือ พระเจ้าเข้านิพพาน นั้นถือว่า เป็นพระพุทธรูปปางที่ไม่ค่อยพบเห็นในวัดทั่วๆ ไป เท่าที่ทราบ องค์ที่สมบูรณ์ที่สุด ต้องยกให้ พระเจ้าเข้านิพพาน ที่ประดิษฐานอยู่ในหลวงพ่อพวง หรืออุโบสถหลังเก่า วัดท่าฬ่อ ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร ส่วนอีกองค์หนึ่งนั้น ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน หรือวิหารแกลบ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อ.เมือง จ.พิษณุโลก พระครูวินัยธรมานัส จนฺทสีโล เจ้าอาวาสวัดท่าฬอ บอกว่า การตั้งถิ่นฐานของประชาชนในตำบลท่าฬ่อ ไม่มีหลักฐานระบุไว้ชัดเจนว่า มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งเมื่อใด รู้แต่เพียงว่า มีอายุประมาณร้อยกว่าปี ตามอายุการก่อตั้งวัดท่าฬ่อ โดยพื้นที่ของตำบลในอดีต เป็นป่าทึบ มีชาวบ้านรวมตัวกันเข้ามาจับจองเป็นรุ่นๆ บุกเบิกแผ้วถางป่าเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นที่ทำกินอยู่ริมน้ำน่าน ตามลำคลอง และเป็นที่มาของชื่อตำบลท่าฬ่อ เพราะในสมัยนั้นจะใช้ล้อเลื่อนสำหรับลากไม้ หรือล้อเกวียนในการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร จนเป็นชุมชนที่รวมตัวของเหล่าล้อเลื่อน / ล้อเกวียนต่างๆ ที่มาจอดรอบบริเวณริมท่าน้ำเต็มไปหมด จนชาวบ้านเรียกว่า ท่าล้อ และผิดเพี้ยนเป็น ท่าฬ่อ จนถึงปัจจุบัน ส่วนเหตุแห่งการสร้าง “พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน” นั้น พระครูวินัยธรมานัส อธิบายให้ฟังว่า การสร้างพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน เป็นปางที่สร้างตามพระพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ที่เมืองกุสินารา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในรุ่งอรุณวันเพ็ญเดือน 6 ขณะพระชนมายุได้ 80 พรรษา ที่ใต้ต้นไม้สาละ คูเมืองกุสินารา มัลลกษัตริย์ แห่งกุสินารา ทรงจัดการพระพุทธสรีระ ห่อด้วยทุกูลพัสตร์ภูษาผ้าเนื้อดี 500 ชั้น แล้วอัญเชิญลงหีบทอง ที่เต็มด้วยน้ำมันหอม และถวายพระเพลิงโดย มัลลกษัตริย์ 4 พระองค์ ชำระกายให้บริสุทธิ์ แต่งเครื่องทรงชุดใหม่ นำเพลิงเข้าไปจุดที่พระจิตกาธานทั้ง 4 ทิศ ณ มกุฎพันธเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกของพระนคร แต่ไม่สามารถจุดติดได้ ทั้งๆ ที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี พระอนุรุทธเถระ จึงแจ้งให้มัลลกษัตริย์ทราบว่า “มหาบพิตร เทพยดาทั้งหลายมีความประสงค์จะรอคอยท่าน พระมหากัสสปะเถระ พระสาวกผู้ใหญ่ก่อน เพื่อให้ท่านถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดา ถ้าพระมหากัสสปะเถระ ยังมิได้ถวายนมัสการตราบใด เพลิงจะจุดไม่ติดตราบนั้น” เมื่อพระมหากัสสปะเถระ มาถึงแล้วเข้าไปยังจิตกาธาน กระทำประทักษิณเวียนสามรอบ แล้วยืนอภิวาททางเบื้องพระบาท แล้วตั้งจิตอธิษฐาน กราบทูลว่า “ข้าแต่พระบรมครู ข้าพระพุทธเจ้าผู้ชื่อว่า มหากัสสปะ เป็นสาวกที่พระพุทธองค์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศทางธุดงค์ในกาลเบื้องต้น พระพุทธองค์ประทานบรรพชาอุปสมบทให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า แล้วประทานเปลี่ยนผ้ามหาบังสุกุลที่ทรงพิจารณาจากศพนางปุณณทาสีให้ร่วมใช้กับพระพุทธองค์ ข้าพระพุทธเจ้า คือ กัสสปะเพียงผู้เดียวนี้ อนึ่ง คำกราบทูลของข้าพระองค์นี้ เป็นความสัตย์จริง ขอให้พระบาททั้งสองของพระองค์จงออกมาจากหีบทองรองรับการอภิวาทของข้าพระบาทในกาลบัดนี้เถิด” สิ้นคำกราบทูลประหนึ่งว่า พระพุทธองค์ทรงรับทราบคำกราบบังคมทูล ก็บันดาลพระบาททั้งคู่ ทำลายผ้าที่หุ้มห่อพระพุทธสรีระทั้ง 500 ชั้น และทำลายหีบทองออกมาปรากฏภายนอกดุจดวงพระอาทิตย์ พ้นจากกลีบเมฆออกมาปรากฏอยู่ดูน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงเป็นที่มาของพระปางนี้ พระครูวินัยธรมานัส ยังบอกด้วยว่า พระพุทธเจ้าเข้านิพพานของวัดท่าฬ่อ สันนิษฐานว่า สร้างไว้เมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว เดิมทีประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงตากริม เมื่อกรมศิลปากรมาบูรณะภาพในวิหารเมื่อปี 2545 จึงย้ายมาเก็บไว้ที่วิหารหลวงพ่อพวง

วัดท่าฬ่อ -

วัดท่าฬ่อ (ภาพจิตรกรรมฝาผนัง)

  16.520284,100.325397

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*