วัดม่วง
วัดม่วง เป็นวัดเก่าแก่ มีการบันทึกตามประวัติบอกไว้ในคัมภีร์ใบลานเขียนด้วยอักษรมอญว่า มีอายุอยู่ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลานั้น ชุมชนบ้านม่วงและบริเวณสองฝั่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีกลุ่มชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายมอญ อยู่ร่วมกันกับกลุ่มชนอื่น เช่น ไทย จีน ลาว ญวน เขมรและกะเหรี่ยง มีการผสมผสานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน เกิดเป็นเอกลักษณ์ของคนในท้องถิ่นและความที่ชุมชนบ้านม่วงมีวิถีชีวิตผูกผันอยู่กับประเพณีและความเชื่อดั่งเดิม ทำให้ชุมชนแห่งนี้เป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ด้านมอญศึกษาแก่ผู้สนใจมากมาย
สถานที่ที่น่าสนใจของวัดม่วงคือ พระอุโบสถหน้าบันปูนปั้น ลวดลายเรขาคณิตระบายสีคล้ายรูปมังกร กรอบประตูเขียนเป็นรูปซุ้ม บานประตูเป็นไม้มีภาพเขียนสีเป็นทวารบาลรูปยักษ์ยืนถืออาวุธเหยียบอยู่บนสัตว์พาหนะ บนผนังด้านหน้าพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรม พระอุโบสถวัดม่วงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)
ข้อมูลเพิ่มเติม
ต้นโพธิ์ยักษ์คลุมซุ้มประตูวัดม่วง, พระอุโบสถสถาปัตกรรมมอญ
วัดม่วง