
Newsletter Subscribe
Enter your email address below and subscribe to our newsletter
Enter your email address below and subscribe to our newsletter
การปลูกชมพู่ ไม้ผลที่ปลูกง่ายในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ดูแลรักษาง่าย บางครั้งสามารถทนน้ำท่วมขังได้ดี บางครั้งสามารถทนแล้งได้ดี และมีแมลงรบกวนน้อยกว่า
ชมพู่สามารถปลูกได้ทั้ง ดินร่วน ดินทราย ดินร่วนปนทราย จะให้ผลผลิตที่มีรสชาติดีในการปลูก เพราะมีธาตุไนโตรเจน และอุ้มน้ำได้น้อยกว่าจึงทำให้ความหวานในผลชมพู่เพิ่มขึ้น น้ำไม่ท่วมขัง การปลูกควรเป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดเต็มที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ
ชมพู่ปลูกได้ทุกสภาพดิน ดินจะดีไม่ดีอยู่ที่เราบำรุง หากเรารู้จักปรับปรุงบำรุงดิน โดยเติมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สามารถทำให้ดินสมบูรณ์ การปลูกชมพู่นั้นจะต้องดูแหล่งน้ำเป็นหลัก เพราะพืชชนิดนี้ต้องการน้ำมาก พื้นที่ลุ่ม ต้องยกร่อง ขนาดความกว้างของร่อง 6-8 เมตร ความสูงขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่
[ads1]
อุณหภูมิชมพู่เป็นพืชเขตร้อน แต่อุณหภูมิก็ยังคงมีผลต่อการเจริญเติบโต หากอากาศร้อนจัด จะส่งผลให้ชมพู่นั้นติดผลได้ไม่ดี ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการออกดอกติดผลคือ ช่วงปลายปี ถึงต้นปี จะให้ผลผลิตที่คุณภาพดีที่สุด ในพื้นที่นั้นมีแหล่งน้ำในปริมาณที่เพียงพอตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฝนทิ้งช่วง และฤดูแล้ง ต้องมีการวางระบบน้ำและวางแผนการใช้น้ำไว้ล่วงหน้า
สามารถใช้น้ำได้ทั้งจากคลองชลประทานและน้ำสะอาด
การปลูกนั้นสามารถปลูกได้ดีมากในฤดูร้อน แต่ต้องมีการเช็คในส่วนของสภาพอากาศ อยู่ตลอดว่าร้อนจัดไหมเพราะ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของชมพู่ได้
สามารถปลูกได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง การเสียบยอด และการทาบกิ่ง วิธีที่นิยม คือ การปลูกด้วยต้นพันธุ์จากการตอนกิ่ง การปักชำ และการเสียบยอด เพราะให้ผลผลิตเร็ว และลำต้นไม่สูง ส่วนการปลูกจากต้นกล้าเพาะเมล็ดไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เพราะใช้เวลาหลายปี
ใช้ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ อัตรา 40-80 กรัมและผสมน้ำ 20 ลิตร ทำการฉีดพ่นกำจัดเป็นประจำทุก 5-7 วัน แต่ช่วงที่ชมพู่เริ่มแทงช่อ ฉีดประมาณ 4-5 ครั้ง
การให้ปุ๋ยแนะนำ การให้ปุ๋ยปลาสา โดยนำปลาสด 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม น้ำส้มสายชู 5% 1 แก้ว หมักรวมกันในถังที่มีฝาปิดสนิท ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือน ใน 30 ซี.ซี. ให้เจือจางกับน้ำประมาณ 20 ลิตร เมื่อชมพู่เริ่มติดดอก ควรป้องกันแมลงกัดกินผลด้วยการห่อช่อผลด้วยถุงพลาสติก หรือฉีดพ่นด้วยสารสมุนไพรชีวภาพที่ทำจากการหมักข่าแก่ ตะไคร้หอม และสะเดาไว้ 3 คืน
ในระยะที่เริ่มแรก ควรให้น้ำวันละ 1 – 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็น ระยะติดผลควรให้น้ำประมาณ 5 – 7 วัน/ครั้ง ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 7 วัน เพื่อทำให้ผลชมพู่มีรสหวานอร่อย
เคล็ดลับในการดูแลชมพู่ให้มีสีสด รสชาติหวาน กรอบ เป็นที่ต้องการของตลาดด้วยว่า ต้องเอาใจใส่ดูแลตั้งแต่เริ่มต้นปลูก หมั่นรดน้ำ ใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ หากพื้นที่ที่แห้งแล้งก็ให้ใช้วิธีสูบน้ำบาดาลขึ้นมาพักหรือกักเก็บไว้ในบ่อให้เพียงพอ
การเก็บผลเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง หลังจากการห่อชมพู่ได้ประมาณ 25-30 วันเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สวยที่สุด ด้วยถุงพลาสติก บำรุงไปจนผลผลิตเริ่มขึ้นเงาและผิวเลื่อม พร้อมในการเก็บเกี่ยว
ชมพู่นั้น เหมาะสมในตลาดภายในประเทศมากราคากิโลกรัมละ 35 บาท ซึ่งแต่ละปีสามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1-2 สัปดาห์ ทำให้มีรายได้เฉลี่ยปีละ 4–5 แสนบาท อีกทั้งยังมีรายได้จากการขายกิ่งพันธุ์ที่จำหน่ายต้นละ 30 บาท