Enter your email address below and subscribe to our newsletter

ประเภณีวิ่งควาย

ประเพณี วิ่งควาย เอาควายมาวิ่งแข่งทำไม

Share your love

ประเพณีวิ่งควาย หลายๆคนก็อาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องเอาควายมาวิ่ง ถ้าหากจะเป็นวิ่งแข่ง นั้นก็ไม่แปลก หรือจะเอาม้ามาวิ่งแข่งกัน นั่นยิ่งไม่แปลกไปใหญ่เลย เพราะว่าม้ามันก็เกิดมาเพื่อวิ่งอยู่แล้ว แต่ควายมันเหมือนว่าจะไม่เหมาะกับการวิ่งเท่าไหร่ แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับประเพณีบ้านเรา จริงๆแล้วมันมีที่มาของประเพณีวิ่งควายบ้านเรา เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จุดกำเนิดของประเพณีวิ่งควาย มันเริ่มมาจากอะไร

ประเภณีวิ่งควาย
ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

เราจะต้องมองย้อนกลับไป ถึงตำนานเมื่อนานร้อยกว่าปี

ตำนานแรกกล่าววว่า ‘เปรตใหญ่’ เป็นวิญญานชั่วร้าย ที่ชอบหลอกหลอนผู้คนให้เกิดความหวาดกลัว โดยเปรตตนนี้ ชอบดูกีฬาวิ่งควาย จึงได้ออกปากให้ชาวบ้านจัดแข่งการอข่งขันวิ่งควายขึ้นมา จัดเป็นงานประจำปี ถ้าหากปีใดไม่จัดกีฬาแข่งวิ่งควายเพื่อเซ่นไหว้ก็จะบันดาลให้เกิดอาเพศต่างๆ

ตำนานที่สอง เป็นควาามเชื่อทางด้านไสยศาสตร์ ซึ่งกล่าวว่า ถ้าหากควายใครป่วย จะต้องเอาไปบนกับเทพารักษ์ และถ้าหากเอาไปบนแล้ว ควายหายเป็นปกติ จะต้องนำควายมาวิ่งแก้บน ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็นำควายของตนเอง มาวิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันการเจ็บป่วย มันจึงเกิดมาเป็นประเพณีวิ่งควาย

ตำนานสุดท้าย เป็นความเชื่อทางด้านศาสนา ว่ากันว่าเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี โดยทำเครื่องกัณฑ์ ใส่ควายเที่ยมเกวียน เดินทางมาที่สัด เพื่อไปอาบน้ำที่สระบริเวณวัด แล้วก็นึกอยากจะทดสองสุขภาพความแข็งแรงของควาย จึงได้เกิดการปะลองฝีเท้าของควายขึนมา เกิดมาเป็นประภาณีวิ่งควายทุกวันนี้

วิ่งควาย ไม่ใช่เพียงแค่ประเพณี

การแข่งขันวิ่งควาย

ทั้งสามตำนานที่เราเอามาบอกกับเพื่อนๆนั่นไม่ใช่เพียงแค่ ตำนานหรือเรื่องเล่าไปเรื่อย แต่มันทำให้เราได้เห็นว่า คนไทย กับควาย มีความผูกพันธ์กันมากแต่ไหน เพราะถ้าหากพูดถึงควาย ยังไงเราก็จะต้องนึกถึงบรรพบุรุษของเรา ตำนานเหล่านั้นก็แสดงให้เห็นว่า ความผูกพันธ์ของชาวนาไทย กับ ควาย มันมากขนาดไหน

ประเพณีวิ่งควายเกิดขึ้นตอนไหน ก็ยังไม่มีหลักฐานประกฎอย่างแน่ชัด แต่หลักฐานที่ระบุว่ามีการเล่นวิ่งวัว วิ่งควายกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (ชัชชัย โกมารทัต, 2527)

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นราวรัชกาลที่ 2 พบหลักฐานที่พูดถึงการวิ่งควายในวรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนงานสมโภชอภิเษกศรีสุวรรณกับนางเกษรา มีความหนึ่งกล่าวถึง ประเพณีวิ่งควายว่า “…พอกลองหยุดจุดดอกไม้ไฟสว่าง แสงกระจ่างแจ่มเหมือนดังเดือนหงาย ดอกไม้กลคนชิงกันวิ่งควาย พวกผู้ชายสรวลเสเสียงเฮฮา…”

หลังจากนั้นในรัชกาลที่ 4 พบว่าการวิ่งควายกลายเป็นที่นิยมอย่างมาก ในเชิงการพนัน ถึงขนาดทางราชการต้องการหนดให้เสียภาษีอากรบ่อนเบี้ย

และในเมื่อ พ.ศ.2555 จากประเพณีพื้นบ้าน กีฬาวิ่งควายก็ถูกแต่งตั้ง ได้รับการจดทะเบียนมรดก ภูมิปัญญา ประเภทกีฬาภูมิปัญญาไทย

กีฬาวิ่งควายในปัจจุบัน

โดยทั่วไป ชาวบ้านจะจัดประเภณีวิ่งควาย ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี วึ่งมันจะตรงกับก่อนวันออกพรรษา 1 วัน แต่ทั้งนี้กำหนดอาช้าเร็ว มันก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่

วิ่งควาย
วิ่งควาย

ส่วนการแข่งขันวิ่งควาย ค่อนข้างที่จะจัดอย่างจริงจัง เพราะว่ามีการแบ่งประเภทตามรุ่น เหมือนนักมวย ซึ่งแบ่งตามอายุของควาย ที่ดูจากลักษณฑของฟันน้ำนม

และฟันแท้ของควาย โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  1. รุ่นซุปเปอร์จิ๋ว
  2. รุ่นจิ๋วพิเศษ
  3. รุ่นจิ๋วเล็ก
  4. รุ่นจิ๋วใหญ่
  5. รุ่นใหญ่

โดยก่อนที่จะลงสนาม เจ้าของของควายจะแต่งผ้าให้ควายอย่างงดงาม ก่อนที่จะปล่อยควายลงสนาม หลังจากนั้นเมื่อปล่อยควายเข้าสู่สนาม ก็จะปลดเครื่องประดับทั้งหมดให้เหลือเพียงตัวของควายเท่านั้น  เพื่อให้พร้อมประชันความเร็ว และ หลังเส้นเริ่มผู้เล่นแต่ละคนจะขึ้นขี่ควายของตน ทันทีที่ได้ยินสัญญาณ พวกเขาก็จะควบควายให้วิ่งไปข้างหน้าให้เร็วที่สุด โดยมีปลายทางคือเส้นชัย นี่คือประเพณีการวิ่งควายของชาวอีสาน

อัษฏาวุธ ผุยบัวค้อ
อัษฏาวุธ ผุยบัวค้อ
Articles: 85

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *