Enter your email address below and subscribe to our newsletter

Cover เห็ดตาปู้

เห็ดตาปู้

Share your love

สมัยเป็นเด็กน้อยย่างลงไปท่งนาบ่อึดแต่ของกิน ยิ่งช่วงยามฝนใหม่จะมีของกินเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหลากหลายชนิดมากๆ มื้อนี้ทีมงานอีสานร้อยแปดจะพาไปรู้จักกับ “เห็ดตาปู้” ที่เกิดขึ้นเองในแปลงนา มีทั้งชนิดที่กินได้และกินไม่ได้ต้องสังเกตุให้ดี ตอนเด็กๆแอดมินเองเคยเก็บมาแกงกินอยู่เหมือนกัน รสชาติก็คล้ายๆเห็ดฟางแต่จะนุ่มกว่า หอมน้อยกว่าเห็ดฟาง ช่วงฤดูที่เห็ดตาปู้ออกจะออกพร้อมๆกันเยอะมาก ไม่ค่อยนิยมนำมาประกอบอาหารสักเท่าไหร่ เพราะสายพันธุ์ที่กินได้กับที่มีพิษมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายคนส่วนใหญ่ก็เลยไม่เก็บมากิน แต่สำหรับคนเฒ่าคนแก่ที่เชี่ยวชาญเรื่องเห็ดจะให้คำแนะนำได้ว่าดอกไหนกินได้หรือกินไม่ได้

ลองมาดูกันว่าเห็ดอะไรที่กินได้และกินไม่ได้บ้าง

เห็ดมีพิษและเห็ดกินได้
เห็ดมีพิษและเห็ดกินได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดตาปู้ : Calvatia boninensis S. Ito & Imai.

ลักษณะทั่วไปของเห็ดตาปู้ : ดอกอ่อนมีลักษณะคล้ายจาวมะพร้าว เป็นก้อนกลม ซึ่งขยายโตขึ้นเรื่อยๆ ขนาด 5–12 เซนติเมตร สูง 4–10 เซนติเมตร สีขาว ตรงโคนเป็นเหมือนก้านดอก ผิวด้านบนของดอกเห็ดอ่อนเรียบ เมื่อโตขึ้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นผิวนูนขรุขระ และสีจะเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลอมชมพูจนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เนื้อด้านในเป็นที่เกิดของสปอร์ เมื่อแก่สปอร์แตกออกทางด้านบน

ลักษณะสปอร์ : รูปร่างกลม มีหนาม ขนาด 2.5-4.5 ไมโครเมตร

เห็ดตาปู้พบได้ทั่วๆไปบนพื้นดินแถวป่าเต็งรัง

ตัวอย่างเห็ดตาปู้ที่สำรวจพบตามที่ต่างๆ

เห็ดตาปู้ จ.ชัยภูมิ
เห็ดตาปู้ จ.ชัยภูมิ
เห็ดตาปู้ จ.นครสวรรค์
เห็ดตาปู้ จ.นครสวรรค์
เห็ดตาปู้ จ.เชียงราย
เห็ดตาปู้ จ.เชียงราย
เห็ดตาปู้ จ.ลำพูน
เห็ดตาปู้ จ.ลำพูน

ก่อนจากกันมาฟังเพลง “เห็ดตาปู้” เพลงสนุกๆจากค่ายเฮ็ดอยู่เฮือนเร็คคอร์ดของเรา

ไทสกล คนสว่าง
ไทสกล คนสว่าง

แอดมินอีสานร้อยแปด ไทสกล คนสว่าง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บอีสานร้อยแปด นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทุกเรื่องราวของพี่น้องชาวอีสาน
เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดแต่เกิดอยู่สกลนคร ออนซอนประเพณีวัฒนธรรมที่ราบสูงที่เรียกว่าภาคอีสาน จึงได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้นรังสรรค์ผลงานนำเสนอผ่านเว็บไซต์ "อีสานร้อยแปดดอทคอม"

Articles: 303