ที่มาของคำว่า “แจ่วบอง”

แจ่วบอง

อีสานร้อยร้อยแปดดอทคอม วันนี้ขอเสนอที่มาของคำว่า “แจ่วบองอาหารอีสานอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันดี จุดกำเนิดของแจ่วบองนั้นมาจากทางประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
“แจ่ว” หรือ “แก่ว” ในภาษาอีสานหมายถึงน้ำพริก ส่วนคำว่า “บอง” นั้นพ้องมาจากคำว่าง “บ้อง” หมายถึงบ้องไม้ไผ่ หรือ กระบอกไม้ไผ่ รวมกันเป็น “แจ่วบอง” หรือ “แจ่วบ้อง” คือแจ่วที่ประกอบด้วยพริก ข่า ปลาร้า และส่วนผสมสมุนไพรอื่น ๆ ที่หาได้ทั่วไปในท้องถิ่น แจ่วบองบางตำรับผสมหนังควายลงไปด้วย แจ่วบองใช้เป็นเครื่องจิ้มกินกับข้าวเหนียว ผักสดหรือนึ่ง ใช้เป็นเครื่องปรุงรสสำหรับอาหารว่างของลาวที่เรียกว่า ไคแผ่น ซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของหลวงพระบาง สมัยก่อนเก็บไว้ในกระบอกไม้ไผ่ทำให้แจ่วบองสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียง่าย และเวลาเดินทางไปไหนมาไหนไกลๆ พกพาได้สะดวกอีกด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า “แจ่วบอง” จนถึงทุกวันนี้

เพื่อความเข้าใจมากขึ้น ไปชม หนังสั้น “ลูกอีสาน” ตอนลาบปลาร้า ซึ่งได้กล่าวถึงแจ่วบองเอาไว้ด้วย เป็นผลงานของคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับไข่ย้อยฟิล์ม นำผลงานการประพันธ์ คำพูน บุญทวี มาปรับปรุงใหม่


มี 2 บทความลิงก์มาที่ที่มาของคำว่า “แจ่วบอง”

  • คำว่า "แจ่วบอง" มีที่มาอย่างไร? - Loved The Food & Travel Fun
  • คำว่า “แจ่วบอง” มีที่มาอย่างไร? – NANANARU นานาน่ารู้

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*