การฟ้อนแคน

ฟ้อนแคน

แคน เครื่องดนตรีแห่งลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีความละเอียดซับซ้อน มีเสียงไพเราะลึกซึ้งกินใจอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถบรรเลงได้ทั้งเสียงเดี่ยวและเสียงควบ บรรเลงได้ทั้งแบบหวานซึ้งและสนุกสนานรื่นเริง

แคน ทำจากไม้ตระกูลไผ่ ที่เรียกว่าไม้เฮี้ย และเนื่องจากเป็นไม้ที่นิยมนำมาทำแคน จึงมักเรียกว่า ไม้กู่แคน

แคน

แคน

เสียงแคน

เกิดจากการสั่นสะเทือนของหลาบโลหะ ที่เรียกว่าลิ้นแคน ซึ่งมีรูปทรงเลียนแบบมาจากลิ้นนก เพื่อเลียนเสียงของนกการเวก ลิ้นแคนที่สั่น เกิดเป็นเสียงดังเข้าไปในลำไม้กู่แคน ทำให้มีเสียงกังวานที่ไพเราะขึ้น

วิถีชีวิตชาวอีสาน เมื่อเสร็จจากภาระกิจประจำวันแต่ละวัน ชาวบ้านมักจะนำแคนมาเป่าเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ตัวเองก็ผ่อนคลาย คนอื่นบ้านใกล้เรือนเคียง ได้ฟังก็ผ่อนคลายอารมณ์เช่นกัน

สำหรับชายหนุ่ม พอมืดค่ำ มักจะรวมกลุ่มกันเดินดีดพิณเป่าแคนไปแอ่วสาว(จีบสาว) หรือบางครั้ง ก็รวมตัวกันที่ลานบ้านใครคนหนึ่ง ดีดพิณเป่าแคน เด็กๆ คนเฒ่าคนแก่ รวมถึงสาวๆ ก็มารวมกัน ร่วมเล่นสนุกท่ามกลางเดือนหงาย เมื่อผ่อนคลายแล้ว ก็แยกย้ายกันไปพักผ่อน

ฟ้อนแคน
 ได้นำเสนอบรรยากาศการเกี้ยวพาราสี เล่นสนุกสนานกันระหว่างหนุ่มสาวชาวบ้าน โดยใช้แคนเป็นอุปกรณ์หลัก หรือเป็นสื่อ

ดนตรี บรรเลงจังหวะเซิ้ง โดยใช้ลายเต้ยโขง, เต้ยธรรมดาออกลายลำเพลิน

อุปกรณ์ แคน

ฟ้อนแคน

ฟ้อนแคน

การแต่งกาย

– ชาย  สวมเสื้อแพรแขนสั้น นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าสไบขิดมัดเอว สวมสร้อยคอ
– หญิง  สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบขิด นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ยาวคลุมเข่า ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้ สวมเครื่องประดับเงิน

เนื้อร้องฟ้อนแคน (วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์)

(เกริ่น)
ได้ยินเสียงแคนอ้าย คืนเดือนหงายคึดฮอดพี่ เสียงลมพัดวี่วี่ ผัดแฮงคึดฮอดอ้าย โอยหลายมื้อ แต่คิดนำ จักแม่นกรรมหยังน้อ จั่งหมองใจได้ไห้จ่ม พี่เอ๋ย…พี่ บ่สมความมาดแม้นแลงเซ้าดูเปล่าดาย ซ่างบ่กลายมาบ้าน ให้นงคราญได้เหลียวเบิ่ง มาให้ใจอีน้อง ได้มองอ้ายให้ชื่นใจ…นั่นละหนา

(ร้อง)
เสียงแคนดัง ฟังตุแลแล่นแตร้     ตุแลแล่นแตร้ ไผนอมาเป่า ๆ
เสียงเหมือนดังเรียกสาว            ถามว่าบ้านอยู่ไส
น้องได้ฟัง                              เสียงแคนดังหวนไห้
เสียงแคนบาดดวงใจ                เหมือนอ้ายเคยเป่าให้ฟัง ๆ

*       โอ้…ฮักเอ๋ย                   ก่อนอ้ายเคยเว้าสั่ง
ฮักอ้ายบ่จืดบ่จาง                      เหมือนแคนอ้ายสั่งดังแล้แล่นแตร ๆ
บ่ลืมเลือน                       ยามเมื่อเดือนส่องหล้า
สองเฮาเคยเว้าว่า                      บ่ลืมสัญญา ฮักใต้ร่มไทร
ยามน้องจากมา                         อ้ายจ๋า อย่าห่วงอาลัย
เสียงแคนคราใด                        ยังคิดฮอดอ้ายอยู่ทุกเวลา ๆ

(ซ้ำ *)


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*