ดอกอีบุกป่า “กลิ่นศพ !!!”

อีสานร้อยแปดจะพาทุกคนไปชมบรรยากาศตามหาดอกบุกป่ากันค่ะ พาลัดเลาะเข้าป่าหาของกินตามวิถีมากกว่านั้นก็ชีวิตของคนอีสานในพื้นที่ชนบทค่ะ เราจะไปตะลุยพื้นที่ไหน ไปหาอะไรนั้นไปดูพร้อม ๆ กัน ไปกันเลยจ้า วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับต้นบุกหรือดอกบุกกันค่ะ ไปกันเลย

สมัยก่อนคนเฒ่าคนแก่เขาจะออกหาดอกบุกตอนเช้า เพื่อนำมาเป็นอาหาร มากกว่านั้นก็คือกลิ่นของดอกบุกส่งกลิ่นเหม็นคล้ายศพเน่า ถ้าเก็บตอนกลางคืนคงมีหลอนกันเลยค่ะ แต่มันมีดีที่ตรงด้านในดอกบุก มีแมลงอาศัยอยู่ด้านในสามารถนำมาประกอบอาหารได้ น่าจะเป็นแมลงตะกูลเดียวกับพวก กุดจี เราก็จะตัดดอกมันมาเคาะเอาแมลงที่อยู่ด้านในนะ ส่วนดอกที่ตัดเราก็ทิ้ง เพราะมันเหม็นมาก??? ทุกดอกมีแมลงมากน้อยแล้วขึ้นอยู่กับตัวแมลงจะหาที่อยู่อาศัย โชคดีหน่อยก็อาจจะมีเยอะ หรือบางดอกก็ไม่มีแมลงเลยก็ได้

“ดอกบุก”จะออกได้ก็ต่อเมื่อบุกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว 4-6 ปี โดยจะแทงออกจากหัวบุกหลังจากลำต้นเหี่ยวตายแล้วประกอบด้วยก้านดอก ที่มีลักษณะ และขนาดคล้ายกับลำต้น ปลายก้านดอกเป็นกลีบดอก และมีเกสรด้านใน เมื่อบานเต็มที่จะส่งกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นเนื้อเน่า และในดอกมีแมลงอาศัยเต็มดอกเลยก็ว่าได้

ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่

– นำมาแปรรูปเป็นแป้งบุกสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อาทิ ทำขนมหวาน เส้นก๋วยเตี๋ยว ทำไส้กรอก ทำวุ้นเส้น ทำเส้นหมี่ เป็นต้น

– แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในรูปของผงในแคปซูล

– แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในรูปของผงสำหรับชงดื่ม

– นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

– นำมาฝานเป็นแผ่น ตากแห้ง และนำมานึ่งรับประทาน

– หัวนำมาต้มหรือนึ่งรับประทาน หรือทำเป็นของหวาน

– หัวนำมาประกอบเป็นอาหารคาวร่วมกับเนื้อสัตว์ได้หลายเมนู

– ลำต้นนำมาประกอบอาหาร เช่น บุกอีลอกนำมาทำแกง


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*