ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

ทุ่งหญ้า ธรรมชาติ ความสดชื่น ในยุคที่ทันสมัยแทบจะเห็นได้ยากแล้วในปัจจุบัน แต่จังหวัดใหญ่ทางภาคอีสานอย่างจังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่แห่งหนึ่งที่เปรียบเสมือนเป็นปอดของชาวจังหวัดอุบลราชธานีเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ “ทุ่งศรีเมือง” สถานที่ร่มรื่นที่สามารถหายใจได้อย่างสะดวกสบาย และยังเป็นสถานที่สำคัญที่รวบรวมเอาประเพณีและวัฒนธรรมมาของชาวอุบลราชธานีที่เคยทำสืบต่อกันมา ยังคงสืบสานไปเรื่อยๆ ณ ที่ ทุ่งศรีเมือง แห่งนี้

ทุ่งศรีเมืองอุบลราชธานี

ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งชื่อเดิมนั้นมีชื่อว่า “นาทุ่งศรีเมือง” เพราะสถานที่ตรงนี้ เมื่อก่อนนั้นเคยเป็นสถานที่สำหรับทำนาของเจ้าเมืองอุบลราชธานีมาก่อน และเคยเป็นสถานที่สำหรับเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์

“การเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์ ก็คือการเผาศพของเจ้านายเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น ซึ่งจะมีพิธีนี้ไว้สำหรับเจ้านายเท่านั้น คือทำการนำศพไปเผาและบำเพ็ญกุศลกลางทุ่งศรีเมือง”

และมีการพัฒนามาเรื่อยๆจากทุ่งนาธรรมดา กลายมาเป็นสวนสาธารณะที่สวยงาม มีต้นไม้ มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติ และในปัจจุบันนี้ทุ่งศรีเมืองแห่งนี้ก็กลายเป็นสถานที่ที่เอาไว้ประกอบพิธีต่างๆมากมายของชาวเมืองอุบลราชธานี ไม่ว่าจะมีประเพณีหรือกิจกรรมใดใดก็ตามของชาวเมืองอุบลราชธานี ทุ่งศรีเมืองก็คือพื้นที่ที่ผู้คนจะเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมากมาย พิธีที่จะจัดก็อย่างเช่น งานแห่เทียนเข้าพรรษา ซึ่งจะทำการจัดอย่างยิ่งใหญ่ในทุกปี งานสดุดีเจ้าเมืองอุบลราชธานี งานรำลึกวันแห่งความดีที่จะจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี รวมไปถึงงานกาชาด งานปีใหม่ ก็มักจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี นอกจากนั้นเมื่อวันที่ไม่มีพิธีใดใด ทุ่งศรีเมืองก็ยังเป็นสถานที่ที่เอาไว้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย ช่วงวันหยุด หรือช่วงเย็นๆอากาศไม่ร้อนมากนัก จะได้เห็นผู้คนเดินทางมาสูดอากาศ พักผ่อนชิวๆ อยู่กับต้นไม้กันแบบมากหน้าหลายตา

ใจกลางเมืองแห่งนี้ที่ล้อมรอบไปด้วยคูน้ำ สวนสาธารณะประจำเมืองอย่างทุ่มศรีเมืองแห่งนี้ ประกอบไปด้วยทางเข้า 4 ประตูด้วยกัน ซึ่งทางเข้าแต่ละทางก็จะมีชื่อที่แตกต่างกันออกไปอย่างไพเราะและมีความคล้องจองกันยิ่งนัก ดังนี้

  1. อุบลเดชประชารักษ์
  2. อุบลศักดิ์ประชาบาล
  3. อุบลการประชานิตย์
  4. อุบลกิจประชากร

 

ทุ่งศรีเมือง

ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

ภายในทุ่งศรีเมือง มีสิ่งก่อสร้างต่างๆให้ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวได้ชื่นชม ด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ ทำให้สามารถบรรจุผู้คนได้มากมาย และมีสิ่งก่อสร้างตั้งไว้ประกอบไปด้วย

  • อภิมหาเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ เป็นสิ่งแรกที่เมื่อเดินเข้าไปในทุ่งศรีเมืองแล้วจะเห็นได้อย่างเด่นชัด เป็นต้นเทียนจำลองสูงยาวตระหง่านตั้งเอาไว้สวยงาม อลังการสายตามาก ซึ่งต้นเทียนสุดแสนจะอลังการนี้ถูกสร้างขึ้นมาตอนที่เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ซึ่งในสมัยนั้นเป็นงานที่ถูกจัดขึ้นกันทั่วประเทศ ซึ่งชาวเมืองอุบลราชธานีเอง เห็นแล้วก็จะรำลึกถึงพระองค์ท่านอยู่เสมอ
  • อนุสาวรีย์แห่งความดีของชาวเมืองอุบลราชธานี ซึ่งจะมีการจัดงานรำลึกเป็นประจำทุกปี
  • ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี ที่ตั้งอยู่ภายในทุ่งศรีเมือง เป็นที่ที่สำหรับสักการะกราบไหว้ของชาวเมืองอุบลราชธานี และผู้ที่มาเยี่ยมเยือนเมืองอุบลราชธานีทุกคน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2515 และยังคงเป็นที่น่าเคารพมาจนถึงปัจจุบัน
  • ประติมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า ซึ่งเป็นประติมากรรมที่แสดงถึงความสมานฉันท์ของ 4 ประเทศด้วยกันก็คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
  • อนุสาวรีย์ของพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ที่เป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี

 

ทุ่งศรีเมือง

ทุ่งศรีเมือง

การเดินทางไปยังเมืองอุบลราชธานี เป็นการเดินทางที่ไม่ซับซ้อนอะไรเลย การเดินทางแบบฉบับความเป็นอีสาน ขอเพียงได้มีการพักผ่อนระหว่างทางเพื่อสูดอากาศหายใจ เพียงเท่านี้ก็สามารถเดินทางต่อไปแบบสบายๆ เดินทางผ่านเส้นทางภาคอีสานได้แบบมีความสุข อย่าลืมแวะ “ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี” กันด้วย

  • แหล่งอ้างอิง: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
  • https://www.thai-tour.com/place/17

ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก:

  • https://sites.google.com/site/uboncandlefestival2014/candlefestivalxxz?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
  • http://m.edtguide.com/travel/179028
  • http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E12788216/E12788216.html
  • http://www.painaidii.com/business/134812/album/1/lang/th/

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*