ปัญหาเผาอ้อย ทำไมจะต้องเผาอ้อย ?
ในตอนนี้แม้ว่า หลายพิ้นที่ จะรณรงค์ว่าห้ามเผาอ้อย แต่บอกเลยว่าเรื่องของการเผาอ้อยปัญหานี้มันยังไม่หายไป เรายังพบเห็นการเผาอ้อยอยู่เรื่อยไปตามบ้านนอก ซึ่งต้องบอกเลยว่าบ้านของตัวผมเอง เผาอ้อยกันเป็นว่าเล่น เย็นๆหน่อยเอาแล้วหิมะเมืองไทยตก จะต้องเก็บข้าวของเข้าบ้านกันให้ไว ซึ่งมันเป็นอะไรที่น่ารำคาญมาก แต่ว่าเราก็ต้องเข้าใจเขาด้วย เพราะว่าวันนี้ เราจะมาเจาะลึกว่าทำไมคนที่ทำอ้อยจะต้องเผาอ้อย เรื่องของมลพิษไม่มีใครอยากจะทำลาย แต่บางคนก็เลือกอะไรไม่ได้ เพราะมันเป็นปัญหาปากท้องนั่นเอง
นอกจากที่มันทำให้มลพิษแย่แล้ว มันยังทำให้เรา รู้สึกรำคาญไปด้วย จะต้องมากวาดผงอ้อย นั่งดูผงอ้อยตกแบบโรเมนติก เปรียบเสมือนหิมะของเมืองนอก แค่คนละสี และไม่หนาว ฮ่าๆ แต่เรื่องหลักๆเลยก็คือเรื่องของปัญหาของมลพิษ ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่สะสมมานาน ปริมาณรถมากขึ้น ประชากรมากขึ้น รถทุกเส้นสายเต็มไปด้วยยานพาหนะ และยิ่งมาเจอการเผาอ้อยอีก ไม่เกิดการบำรุงและก็ยังทำลายมันอีกด้วย
เผาอ้อยจนเป็นประเภณี
ปัญหามลพิษควัน ซึ่งมันกระจายอยู่ในทั่วทุกพื้นที่ หลายๆคนมองมาสู่ปัญหาของการเผาอ้อย เกษตรกรหลายคน เลือกที่จะเผาอ้อย ต้อยทำทั่วประเทศ และบอกเลยว่าทำทีนึงหลายๆมากๆ มันเป็นต้นเหตุของปัญหานี้อีก 1 ต้นเหตุเลยด้วย และทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ทำไมจะต้องเผาอ้อยทั้งๆที่รู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำลายสภาพอากาศ
ยังไงก็ตามการเผาอ้อยของเกษตรกรทั่วประเทศ เกิดขึ้นมานานแล้ว จนคนในวงการอ้อยบอกว่าการเผาอ้อยเผากันเป็นจนจะเป็นประเภณีแล้วไม่ใช่เพิ่งจะมาเผา เพียงแต่แค่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลายๆจังหวัดที่มีการปลูกอ้อยเริ่มมีความถี่ในการเผาอ้อยมากขึ้นถ้าหากเทียบกับอดีต ในอดีตส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะตัดอ้อยสุดๆเพราะได้คุณภาพดีกว่า
ทำไมต้องเผาอ้อย
และถ้าหากถามว่า ทำไมจะต้องเผาอ้อย การเผาอ้อยในประเทศไทย ปัญหาหลักๆก็เกิดจากการขาดแคลนแรงงาน หาคนตัดอ้อยไม่ได้ มีอ้อยหลายร้อยไร่ แต่พอถึงเวลาหาคนตัดอ้อยกับหาแรงงานไม่ได้ ส่วนใหญ่คนก็มักจะปฏิเสธที่จะรับตัดอ้อยสดๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทย แรงงานต่างด้าว เนื่องจากการตัดอ้อยสด มีความยากลำบากมาก กว่าจะได้มา 1 ตันต่อคนต้องใช้เวลานาน อาจจะโดนใบอ้อยบาด บางพันธุ์อ้อยมีหนามด้วย จึงทำให้การตัดอ้อยนั้นล่าช้า แต่ถ้าหากไร่อ้อยในพื้นที่ใด มีการเผาอ้อยเพื่อให้ใบไหม้ เหลือไว้แต่ลำต้น มันจะช่วยให้การตัดอ้อยตัดได้เร็วขึ้น ซึ่งรายงานที่ไปตัดอ้อยจะได้มากถึง 4-5 ตันต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่เขาก็ชอบที่จะตัดอ้อยเผาแล้ว เพราะเสร็จไว ได้เงินเร็ว ง่ายต่อการตัด และไม่ต้องโดนใบอ้อยบาดด้วย แต่ถ้าเอาไปเทียบกับการตัดอ้อยแบบสด เราจะตัดได้เพียง 1.5 ตันต่อวันเท่านั้น ซึ่งถ้าหากมันเทียบแล้วเทียบกันแล้ว ห่างกันเป็นเท่าตัว และแน่นอนคนที่หาเช้ากินค่ำแบบนั้นเขาก็จะต้องการเงิน ในขณะที่โรงงานน้ำตาลบางโรงงานชอบรับอ้อยสด เพราะว่าคุณภาพดีกว่า แต่ก็ต้องยอมรับ และพยายามรับมือกับข้อจำกัดที่มากขึ้น
ถ้าหากหีบอ้อยช้า ก็จะเจอกับปัญหาใหม่
เหตุผลที่จะต้องเผาอ้อยปัจจัยหลักก็คือ แรงงานส่วนใหญ่ไม่รับตัดอ้อยสด และการเผาอ้อยก็มีทั้งข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ในขณะที่การหีบอ้อยก็มีข้อจำกัด เพราะการตัดอ้อยสดจะใช้เวลานานกว่า อาจจะเสี่ยงต่อปัญหาภัยธรรมชาติ ตามปกติภายใน 3-4 เดือนจะต้องหีบอ้อยให้เสร็จ และถ้าหากไม่เสร็จอาจจะเจอปัญหาอื่นตามมา เช่น รถบรรทุกเข้าพื้นที่ขนอ้อยไม่ได้เพราะน้ำท่วมขัง ถ้าหากปิดหีบช้า ต้นทุนโรงงานน้ำตาลก็จะยิ่งบานปลาย
ตอนนี้หลายประเทศพยายามรณรงค์เลิกการเผาอ้อย ให้เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางโลก หันมารักษาสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น และสามารถลดการเผาอ้อยได้เพราะมีกำลังในการลงทุนซื้อเครื่องจักรตัดอ้อยแทนคน อุตสาหกรรมอ้อยในประเทศไทย มีทั้งคนจนและคนรวย ใครที่มีกำลังทรัพย์สามารถซื้อเครื่องอ้อยได้ ก็จะสามารถซื้อได้ ราคาเครื่องตัดอ้อยถ้าหากเป็นราคานำเข้าจะสูงถึง 13-14 ล้านบาทต่อเครื่อง แต่ถ้าหากซื้อในประเทศไทยราคาอาจจะ 5-7 ล้านบาทต่อเครื่อง แม้ว่าราคาจะถูกกว่ากันครึ่งต่อครึ่งแต่เชื่อว่าเกษตรกรอีกจำนวนมากก็ไม่มีกำลังในการซื้อเครื่องตัดอ้อยเช่นกัน
แล้วเราก็ต้องมาพึ่งแรงงานตัดอ้อยต่อ และก็ถ้าหากจะตัดอ้อยสด มันก็ดูเป็นเรื่องใหญ่โตเพราะว่าไม่มีคนรับทำ หลายพื้นที่รวมพึ่งพาห้อยในการเลี้ยงปากท้อง แห่ปลูกตามแรงเหวี่ยงของราคา ที่จัดอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าพืชเกษตรอื่นหลายตัว เฉพาะต้อยถ้าหากไล่ดูก็ปลูกไปแล้วเกือบ 50 จังหวัดทั่วประเทศ