ในภาษาอีสานมีหลายคำที่เป็นคำเฉพาะ คือ ไม่ได้ใกล้เคียงกับภาษาไทยกลาง ซึ่งถ้าไม่ใช่คนอีสานก็แทบจะเดาความหมายไม่ได้เลย หรือแม้แต่คนอีสานก็ยังไม่รู้ความหมายก็ไม่น้อย เรามักจะเคยได้ยินเรื่องเล่าตลกของหมอที่เป็นคนภาคอื่นกับคนไข้ที่เป็นคนอีสาน เกี่ยวกับสุขภาพและอาการเจ็บป่วย โดยคนไข้ก็อธิบายอาการเจ็บป่วยเป็นภาษาอีสาน ส่วนหมอก็ฟังเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง จนเกิดเรื่องตลกขำขันตามมา
ดังนั้นอีสานร้อยแปดจึงได้รวบความคำศัพท์ที่เกี่ยวกับสุขภาพและอาการเจ็บป่วยมาไว้ อาจจะมีประโยชน์สำหรับหลายคน ๆ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องไปโรงพยาบาล ดังเช่นกระทู้จากเว็บไซต์พันทิปกระทู้ อยากทราบภาษาอีสานที่เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยครับ ภาษาอีสานเกี่ยวกับสุขภาพและร่างกายมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
เจ็บคิง [เจ๋บ-คิ่ง] ก. ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย
วิน [วิน] ว. อาการหน้ามืดตาลาย
ขิว [ขิว] ว. เหม็นเขียว กลิ่นเหม็นชนิดหนึ่ง
เจ็บท้อง [เจ๋บ-ท่อง] ว. ปวดท้อง
แสบหมากหูก [แสบ-หมาก-หูก]เรอเปรี้ยว
คิงฮ่อน [คิง-ฮ่อน] ว. ตัวร้อน
คิงฮ้อน [คิง-ฮ้อน] ว. ตัวร้อน
ออกฮ่อน [ออก-ฮ่อน] ว. ร้อนใน, รู้สึกร้อนผ่าวตามร่างกาย
ออกฮ้อน [ออก-ฮ้อน] ว. ร้อนใน, รู้สึกร้อนผ่าวตามร่างกาย
ปุ้นท้อง [ปุ้น-ท่อง] ว. คลื่นไส้
เป็นล็อย ๆ [เป็น-ล็อย-ล็อย] ว. รู้สึกอ่อนแรง ไม่มีเรี่ยวแรง
หล่อย [หล่อย] ว. หมดแรง อ่อนเพลีย
น่ามฮึ่ม [น่าม-ฮึม] น. โรคน้ำกัดเท้า
น้ำฮึม [น่าม-ฮึม] น. โรคน้ำกัดเท้า
อยู่ยาก [ยู-ยาก] ว. รู้อึดอัด ไม่สบายตัว
ยูยาก [ยู-ยาก] ว. รู้อึดอัด ไม่สบายตัว
แมงกินแข่ว [แมง-กิน-แข่ว] น. ฟันผุ
เป็นอยู่ซาดนั่น [เป็น-ยู-ซาด-นั่น] ว. เป็นอยู่แบบนั้น เป็นแบบนี้มาโดยตลอด
บ่เซา [บ่อ-เซา] ว. ไม่หาย
บ่เซาจักเทือ [บ่อ-เซา-จั๊ก-เทือ] ว. ไม่หายเสียที ไม่หายสักที
เหิง [เหิง] ว. นาน ช้า, เมื่อไร ตอนไหน
เป็นเหิงยัง [เป็น-เหิง-ยัง] ว. เป็นนานแล้วหรือยัง เป็นตั้งแต่เมื่อไร เป็นตั้งแต่ตอนไหน
แต่เหิง [แต่-เหิง] ว. ตั้งแต่เมื่อไร ตั้งแต่ตอนไหน
เหิงแล้ว [เหิง-แล้ว] ว. นานแล้ว
ไคแน [ไค-แน] ว. พอจะดีหน่อย, ค่อยยังชั่ว แคนไคแน ก็เรียก
แอว [แอว] น. เอว ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพกทั้ง ๒ ข้าง
แข่ว [แข่ว] น. ฟัน กระดูกเป็นซี่ ๆ อยู่ในปากสำหรับกัด ฉีกเคี้ยวอาหาร
เปี้ยง [เปี้ยง] น. สะบัก กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไปข้างหลัง ปลายด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด
คีง [คีง] น. ร่างกาย ตัวตน
คิง [คิง] น. ร่างกาย ตัวตน
ดัง [ดัง] น. จมูก น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สำหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก
ขี้ดัง [ขี่-ดัง] น. ขี้มูกที่แห้งแล้ว มีสถานะเป็นของแข็ง ถ้ายังเป็นของเหลวจะเรียกว่าขี้มูก
ขี้มูก [ขี่-มูก] น. ขี้มูก นํ้าเมือกที่ไหลออกทางจมูก
ฮูดัง [ฮู-ดัง] น. รูจมูก
ฮูขี่ [ฮู-ขี่] น. รูขี้ ช่องทวารหนัก
ส่น [ส่น] น. ส้นเท้า ส่วนท้ายของเท้า
ส่นนอง [ส่น-นอง] น. ส้นเท้า
ดูความคิดเห็น
เป็นคนที่เกิดในภาคอีสานเหมือนกันค่ะ แต่ก็ไม่เข้าใจในบางอย่างเหมือนกันค่ะ อย่างเช่น เวลาปวดหัวแบบรุนแรงแล้วบ้านหมุนเนี่ย เขาเรียกกันว่าเป็นซะละบาด มันคืออะไรไม่เข้าใจเช่นกันค่ะ อยากให้ผู้รู้อธิบาย ค่ะแล้วมันเกิดจากสาเหตุใดคะ
ขอบคุณหลาย ๆ ครับอ้าย สำหรับบทความดี ๆ