มันหำอีโม้

มาดู”หัวมัน”ที่พิเศษกว่ามันชนิดอื่น ๆ กันค่ะ ไปกันที่จังหวัดบึงกาฬ ชาวบ้านพากันเรียก มันชนิดนี้ว่า “มันหำอีโม้”พาเรียกกันมาตั้งแต่รุ้นปู่ย่าตายาย ที่อื่นเรียกแบบไหนไม่รู้ บึงกาฬเรียกมันหำอีโม้ ค่ะ มันชนิดนี้จะพิเศษกว่ามันชนิดอื่นๆ แบบไหนไปชมกันค่ะ

มันหำอีโม้

มันหำอีโม้เป็นมัน ที่ออกหัวทั้งใต้ดินและบนดิน หรือออกบนอวกาศค่ะ มันชนิดนี้จะมีลักษณะพิเศษนอกจากจะมีหัวใต้ดินแล้ว ยังมีหัวมันเล็ก ๆออกมาตามเถาตามก้านใบที่เลื้อยตามต้นไม้ ไม่ต้องไปขุดดินก็ได้กินมัน มันเป็นพิเศษ 2 in 1 เลยค่ะ

มันหำอีโม้มีลักษณะต้นเป็นเถาเกาะตามต้นไม้หรือริมรั้ว ใบสีเขียว เรียงสลับกัน หัวมันมีรูปร่างกลม ขรุขระ สีน้ำตาลขนาดไม่ใหญ่นัก มีขนาดเท่าหัวแม่มือ จนไปถึงกำมือ บางพื้นที่ไม่มีให้เห็น หรือบางที่เรียกต่างกันออกไป อย่างเช่น มันหำ,มันไข่,มันมู้,มันบ่ามู้,มันอีโต้,มันโต้

หมกมันหำ

มันหำอีโม้จะเริ่มมีหัวมันออกตามเถาตามก้านใบช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน กำลังเข้าฤดูหนาวพอเหมาะกับช่วงเวลาอากาศเย็น คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนจะชอบนำมันหำอีโม้มา “หมก” ในขี้เถ้ากองไฟ พิงไฟกินมันหมกแก้หนาวหรือจะนำมาต้มใส่เกลือจิ้มน้ำตาลหรือโรยหน้าด้วยน้ำตาล จะมีรสชาติ มัน ๆ คล้ายเผือกแต่ว่ามันหำอีโม้จะมีเนื้อที่เหนียวหนึบมากกว่าเผือก

ข้อควรระวัง

ข้อห้ามหรือข้อควรระวังในการนำมันหำอีโม้มาทาน ควรนำมาทำให้สุก กากรับประทานมันหำอีโม้ไม่สุกหรือต้มไม่สุกจะทำให้เกิดอาการคันคอ ระคายเคืองได้ ระวังกันด้วยนะคะ เวลานำมาทานดูให้ดี ๆ


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*