เรือมกะโน๊บติงตอง(ระบำตั๊กแตนตำข้าว)
เป็นการแสดงพื้นเมืองชาวไทเขมรในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า กะโน๊บติงตอง เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวไทเขมร หมายถึง ตั๊กแตนตำข้าว เรือมกะโน๊บติงตอง ของอีสานใต้เป็นการละเล่นที่มีความสนุกสนาน ด้วยลีลาที่เลียนแบบมาจากลีลาการขยับตัวและการกระโดดของตั๊กแตน ซึ่งการแสดงชุดนี้ต้องใช้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายทุกส่วน
กะโน้บติงตอง
เป็นภาษาเขมรแปลว่า ตั๊กแตนตำข้าว เป็นการละเล่นที่เลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว มีจังหวะลีลาที่สนุกสนานเร้าใจ จึงทำให้การเล่นกะโน้บติงตองเป็นที่นิยมทั่วไปทั้งในแถบอีสานใต้และแถบจังหวัดใกล้เคียง
ประวัติความเป็นมา
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 นายเต็น ตระกาลดี ได้เดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชาและในขณะที่หยุดพักเหนื่อยนายเต็น ได้มองเห็นตั๊กแตนตำข้าวกำลังเกี้ยวพาราสีกันและผสมพันธุ์กันอยู่เฝ้าดูลีลาของตักแตนคู่นั้นด้วยความประทับใจ เมื่อนายเต็นเดินทางมาถึงบ้าน จึงเกิดความคิดว่าถ้านำเอาลีลาการเต้นของตักแตนตำข้าวมาดัดแปลงและเต้นให้คนดูก็ดี จึงนำแนวคินนี้มาเล่าให้ นายเหือน ตรงศูนย์ดี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะกันตรึมที่เล่นอยู่ในหมู่บ้านรำเบอะ และหมู่บ้านใกล้เคียงนั้น ในแถบตำบลไพล อำเภอปราสาท เมื่อไปเล่นที่ไหนเวลา ต้องการให้เกิดความสนุกสนานนั้น จนการเต้นตั๊กแตนตำข้าวแป็นที่รู้จักและได้รับควานนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
ดนตรี ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
กลองโทน ๒ใบ(สก็วล)
ปี่ใน ๑ เลา(ปี่สลัย)
ซอด้วง ๑ ตัว
ซออู้ ๑ ตัว
ฉิ่ง ๑ ตัว
การบรรเลง นิยมใช้วงมโหรีอีสานใต้ หรือวงกันตรึม ส่วนบทร้องที่ใช้ประกอบการแสดงนั้นไม่ได้จำกัดว่าจะต้องมีเนื้อหาอย่างไร จะขึ้นอยู่กับผู้ร้องว่าจะร้องในเนื้อเรื่องใดทั้งนี้เพราะมักจะด้นกลอนสด บางครั้งก็ร้องเข้ากับงานที่แสดง ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเชิงเกี้ยวพาราสีหรือตัดพ้อกันระหว่างชายหญิง
การแสดงเรือมกะโน๊บติงตองต้องแสดงร่วมกันเป็นหมู่โดยจะแบ่งออกเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิง สมมุติให้เป็นตั๊กแตนตัวเมียและตัวผู้ หากว่ามีการมีการแสดงเป็นกลุ่มมากคน ก็ยิ่งเพิ่มความสนุกสนานยิ่งขึ้น
การแต่งกาย จะแต่งกายเลียนแบบตัวตั๊กแตนคือเป็นชุดสีเขียวสวมทั้งตัว มีลักษณะการตกแต่งเสื้อให้คล้ายตัวตั๊กแตน สวมหน้ากากศีรษะตั๊กแตน มีปีก 1 คู่ ผู้แสดงเป็นตั๊กแตนตัวเมียจะมีกระโปรงด้วย