ภาษาอีสานทั้งหมด 10121 - 10130 จาก 17431

  • หูด
    แปลว่า : ชันโรง ขี้สูด ก็ว่า.
  • หูด
    แปลว่า : มะกรูด ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งผลคล้ายมะนาว แต่ใหญ่กว่า มี ๒ ชนิด คือ ชนิดที่เป็นกะตูดกะตีด (ขรุขระ) และชนิดเกลี้ยง ชนิดขรุขระมีรสเปรี้ยว ชนิดเกลี้ยงมีรสหวาน อย่างว่า มีทังหมากหูดเกี้ยงเดียระดาษของหวาน (ขุนทึง).
  • หูฮา
    แปลว่า : หมอดู เรียก หมอหูฮา เอาสระอูที่หู เป็นโอ อ่านว่า โห เอา ฮ สระอาเป็น ร อ่านว่า รา โหรา แปลว่าโหรคือหมอดู.
  • หูฮาศาสตร์
    แปลว่า : ตำราว่าด้วยวิชาการดูหมอ.
  • เหก
    แปลว่า : ชื่อนกชนิดหนึ่ง เรียก นกเหก นกเหิบ ก็ว่า วันนี้เฮาจักพรากเพื่อนพร้อมเมือสู่เป็งจาล ก่อนแล้ว ทังปวงสูอยู่ยืนยาเศร้า มยุราเค้าประหิดเหียนหงส์เหก ตะลุมไก่กุ้มกาน้ำเจ่าจอง (สังข์) แม้นว่าสัพพะสิ่งช้างม้ามิ่งในนคร ก็บ่กินเกียงหยุดอยู่ซงสลอนพร้อม กับทังเนื้อนกเลี้ยงประหิดเหียนหงส์เหิบ ขัวข่อขุ้มกะทากี้ก่างตอง (สังข์).
  • เหง
    แปลว่า : ข่มเหง กดขี่ รังแก อย่างว่า ให้ผาบแพ้ธรเทพกันดาร เจ็บเพื่อมารมาเหงข่มเอาพระองค์น้อง เฮาก็หวังกัดก้ำหนมันมีหย่อน ก็บ่แล้วประโยชน์ย้อนยังเกี้ยวกีดทวง แท้แล้ว (สังข์) ทับเรียก เห็ง อย่างว่า เสียงยิ่งเพี้ยงฟ้าลั่นลงเห็ง (สังข์).
  • เหงา
    แปลว่า : เปลี่ยวใจ เปล่าเปลี่ยว ไม่คึกคัก อย่างว่า กลอยกลมเกี้ยวมือไลช้อนไหล่ คือดั่งสองกล่อมชู้ชมเหง้าส่วงเหงา (สังข์) ไกวแขนขึ้นมโนพรเจียระจาก นางอยู่หม้อมคนิงน้องหง่วมเหงา (ฮุ่ง).
  • เหง้า
    แปลว่า : โคนของต้นไม้ กก ราก เรียก เหง้าไม้.
  • เหง้า
    แปลว่า : ต้นตระกูล ผู้เป็นต้นตระกูลเรียก เหง้า อย่างว่า ฝูงนี้เชื้อลูกท้าวแนวเหง้ากิ่งสกุล (กา) พระก็สุขอยู่สร้างเสวยราชเฮืองฮม แพงจอมศรีซู่นางปานแก้ว แม้นว่าเทวีเหง้าจันทานางเอกก็ดี พระก็ฮักยิ่งเพี้ยงแพงไว้เกิ่งเมือง (สังข์).
  • เหง้า
    แปลว่า : คนที่รักใคร่ชอบใจเรียก เหง้า อย่างว่า สองกล่อมชู้ชมเหง้าส่วงเหงา (สังข์).