ภาษาอีสานทั้งหมด 10241 - 10250 จาก 17431

  • แหน
    แปลว่า : ห้อมล้อม แห่แหน ระวัง รักษา อย่างว่า หื่นหื่นก้องเสเนศนางขุน ตีทวงทบท่าวแดดอมน้อย ฝูงเคยใช้ชุมแหนหัตถบาส เขาก็ปละเครื่องแก้วนางน้อยพ่ายพัง (สังข์).
  • แหน่
    แปลว่า : นิดหน่อย เล็กน้อย ได้นิดหน่อย เรียก ได้แหน่ กินเล็กน้อย เรียก กินแหน่ เสียนิดหน่อย เรียก เสียแหน่.
  • แห่น
    แปลว่า : เสียงแหลมเล็ก เช่น เสียงม้าร้อง อย่างว่า อาชานัยกลิ้งไปมาฮ้องแห่น หือระแห่นม้าในหั้นหมื่นพัน (กา) หัวเราะเสียงดัง เช่น เสียงหัวเราะของหญิงบางคน หัวแหะหัวแห่น ก็ว่า.
  • แห้น
    แปลว่า : แทะ กัด หมาแทะกระดูก เรียก หมาแห้นกระดูก อย่างว่า ขบคาบแห้นกินชิ้นซากมัน (หน้าผาก).
  • แหนง
    แปลว่า : กิ่ง แขนงกิ่งไม้ เรียก แหนงไม้ หน่อไม้แขนงเล็กๆ เรียก แหนงหน่อไม้ อย่างว่า สิบแหนงไม้ซาวแหนงไม้ไผ่บ่ปานแหนงไม้ดู่ สิบแก่นคู้ซาวแก่นคู้บ่ปานไม้แก่นจันทน์ (กลอน).
  • แหนง
    แปลว่า : เบื่อ หน่าย ระอา เบื่อหน่าย เรียก แหนง แหนงหน่าย หน่ายแหนง ก็ว่า อย่างว่า วิบากแค้นคือคู่กินแหนง แลนอ แม้นชิเนาในปรางค์บ่เบยเบาได้ ไทไกลใกล้คาเมในนอก คันว่าฮู้ข่าวน้อยหิวไท้ทั่วแดน (สังข์).
  • แหน้น
    แปลว่า : เต็ม แออัด ยัดเยียด เต็มจนหาช่องว่างไม่ได้ เรียก แหน้น อย่างว่า สะเพือกพร้อมเนืองนอบนมัสการ เป็นแถวถันนอกในเนืองแหน้น โยธาตั้งเต็มพะลานล้นแผ่น ทุกที่น้ำในหน้าเฟือดฟาย (สังข์).
  • แหนบ
    แปลว่า : เครื่องมือสำหรับถอนหนวดทำด้วยโลหะบางๆ มีปากสองปาก รูปคล้ายคีม เรียก แหนบหลกหนวด หมายถึงสิ่งอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายแหนบ ก็เรียกว่าแหนบด้วย.
  • แหนบ
    แปลว่า : เรียงซ้อนกัน เช่น เอาพลูหลายๆ ใบมาเรียงกันเข้า เรียก แหนบพลู เอาใบตองกล้วยหลายๆ ใบมาเรียงกันเข้า เรียก แหนบใบตองกล้วย เอาแผ่นเหล็กสปริงมาเรียงซ้อนกันเพื่อรับน้ำหนักก่อนส่งสู่เพลารถยนต์ เรียก แหนบรถยนต์.
  • แหนม
    แปลว่า : ชื่ออาหารอย่างหนึ่งทำด้วยหมูหมักให้เปรี้ยว ห่อด้วยใบตองกล้วย เรียก แหนม คนที่ตั้งชื่อน่าจะยืมคำนี้มาจากที่อื่น ถ้าเป็นภาษาอีสานเขาเรียก ส้มหมู.