ภาษาอีสานทั้งหมด 10221 - 10230 จาก 17431

  • เหิน
    แปลว่า : เหาะ บิน บินขึ้นไปในระยะสูง อย่างว่า บาคราญผ้ายเวหาเหินเมฆ (กา) ทะล่วนแส้ชะค้อมคับท่งตูมวาง ผนผนผีตายืนป่วนมามวลเข้า ฝูงนั้นมีมนต์ขึ้นกลางหาวเหินแอ่น อยู่แทบเท้าก้ำฝ่ายจอมจัง (ฮุ่ง).
  • เหินห่าง
    แปลว่า : ไม่สนิทสนมดั่งเก่า ไม่ไปมาหาสู่กันเหมือนเดิม เรียก เหินห่าง อย่างว่า บัดนี้มาฮอดแล้วเหินห่างจางจิต แลนอ เหมือนพี่ปุนปานผางเผ่าสะอางอันฮ้าย ชื่อว่าพันปีอ้ายบ่มียอมยังแอ่ว อวนเอย ขออุ่นฮักพี่พร้อมคำข้อนขอดจริง แด่ถ้อน (สังข์).
  • เหิม
    แปลว่า : กำเริบ คะนอง ลำพอง ได้ใจ เช่น วัวควายตื่นลม มันกระโดดโลดเต้น เรียก เหิม ห้าว ก็ว่า.
  • เหิ่ม
    แปลว่า : ห่าม ผลไม้ห่าม เรียก เหิ่ม เช่น มะม่วงจวนจะสุก เรียก หมากม่วงเหิ่ม หมากสีดากำลังสุก เรียก หมากสีดาเหิ่ม อย่างว่า อย่าสุกก่อนเหิ่ม (ภาษิต).
  • เหี้ย
    แปลว่า : ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายจะกวด แต่ใหญ่กว่า หางแบนอย่างหางจระเข้ เรียก เหี้ย.
  • เหี้ยน
    แปลว่า : สั้น เสียมสั้น เรียก เสียมเหี้ยน จมูกสั้น เรียก ดังเหี้ยน สิ้นสั้น เรียก ซิ่นเหี้ยน อย่างว่า พี่จักหมายมาโออมแต่งดองเสียมเหี้ยน (ขูลู).
  • เหี่ยว
    แปลว่า : ไม่สดชื่น โรยลง สลด ค่อยแห้งไป ไม่เต่งตึง เช่น นมบ่เค่งตึง เรียก นมเหี่ยว อย่างว่า โต๋ต่งโต๋นารีโต่งโต้น โต๋ต่งโต้นผู้สาวโหย้นนมมา โหย้นนมมาผั่นแม่นนมเหี่ยว คันบ่คั้นย้านเกี่ยวกินมือ (บ.).
  • เหือด
    แปลว่า : แห้ง หมดลง ค่อยหายไป เช่น น้ำตาไหลไม่ขาดสาย เรียก ไม่เหือด อย่างว่า ก็บ่เหยเหือดน้ำตาย้อยย่าวไหล (สังข์).
  • แห
    แปลว่า : ชื่อเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง สานเป็นตา โดยใช้ป่านปอหรือเชือก ถ้าบ้านใดมีปลาตัวเล็กก็จะสานตาถี่ ถ้ามีปลาตัวใหญ่ก็สานตาห่าง อันนี้เพียงเป็นข้อสังเกตอย่างว่า ตึกแหได้ปลาไข่ เอาเมียใหม่ได้ลูกพร้อม บุญสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต).
  • แห
    แปลว่า : ชื่องูชนิดหนึ่ง มีลายเหมือนตาแห เรียก งูดางแห งูดางแหเป็นงูไม่มีพิษ.