ภาษาอีสานทั้งหมด 10201 - 10210 จาก 17431

  • เหลื้อ
    แปลว่า : เรื้อรัง เก่าแก่ อย่างว่า อันว่าจันทรังเหลื้อบ่มีเพ็งแฮมค่ำ อวนเอย (ลึบ).
  • เหลือก
    แปลว่า : เหลือบ ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง รูปคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า เรียก เหลือก ชอบกินเลือดวัวและควาย อาศัยอยู่ตามวัว เรียก เหลือกงัว อาศัยอยู่ตามควาย เรียก เหลือกควาย.
  • เหลือก
    แปลว่า : ทำให้ลูกตาดำอยู่ข้างบน ลูกตาขาวอยู่ข้างล่าง เรียก เหลือกตา อย่างว่า อันนี้พลใผแท้อาเอยฮีบบอก มาเถิ้น อากล่าวต้านทังย้านบอกมา อันนี้พลหาญเสื้อเสนาทังสี่ มันแล้ว ดูที่มันแลบลิ้นตาปลิ้นเหลือกลน (สังข์).
  • เหลือง
    แปลว่า : สีอย่างสีขมิ้น เรียก สีเหลือง สีเหลืองเป็นสีที่พระนิยม ใช้ย้อมสบงจีวร อย่างว่า เหลืองเอยเหลืองใบแค อดสาเว้าอ้ายแด่เดอน้องเอย (กลอน).
  • เหลืองหล่า
    แปลว่า : เหลืองซีด สีเหลืองซีด เรียก เหลืองหล่า หล่าเหลือง ก็ว่า อย่างว่า ทุกข์โศกกลั้นพ้นยิ่งสามเดือน ก็บ่ลืมเพลาแพงชั่วคราวคาแค้น องค์ผอมเพี้ยงตองตายเหลืองหล่า เสเนศน้อมหลายชั้นบ่มาย (สังข์).
  • เหลือม
    แปลว่า : ชื่องูใหญ่ชนิดหนึ่ง คล้ายงูหลาม แต่ใหญ่กว่างูหลามมาก เป็นงูไม่มีพิษ ตัวใหญ่และยาวประมาณ ๑๐ เมตร เรียก งูเหลือม.
  • เหลื่อม
    แปลว่า : กั้น บัง ปกคลุม สิ่งที่ปกคลุมเรียก เหลื่อม อย่างว่า สิบคนมานั่งแหนแสนคนมานั่งเฝ้า บ่ปานเงาน้องมาเหลื่อม (ผญา) บัดนี้หายบาปเบื้องเวรเล่าสูญเสีย แท้แล้ว เจ้าแม่คูณคงสินอยู่ยืนเมืองนี้ มาหอมข้าชาวชลชมยาก ให้ฮ่มเงื้อมบุญเจ้าเหลื่อมมุง แด่ถ้อน (สังข์).
  • เหลื้อม
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ต้นใหญ่ ผลกลมเกลี้ยงคล้ายลูกสมอ กินเป็นอาหารได้ เรียก หมากเหลื้อม.
  • เหลื้อม
    แปลว่า : ปราสาทราชมณเทียรที่มีสีเหลืองอร่ามงามตา เรียก ปราสาทเหลื้อม อย่างว่า มีทังสมณาสพร้อมเพียีฮ่ำเฮียนคุณ อาฮามงามเกิ่งดาวดิงส์ฟ้า ผ่อเห็นมุณเทียรท้าวธรงเมืองแก้วกู่ วันวู่ต้องแสงเหลื้อมหลั่งสี (สังข์).
  • เหว
    แปลว่า : ช่องลึกระหว่างภูเขา เรียก เหว อย่างว่า แม้งหนึ่งเถิงที่ห้วยเหวตาดครำหลวง วังยาวทบทั่งหีนเหวก้อน พะลานเพียงพื้นคนเคยพักเพิ่ง ที่นั้นเขาก่อกว้านประถมเถ้าชั่วลาง (สังข์).