ภาษาอีสานทั้งหมด 10191 - 10200 จาก 17431

  • เหลือขอ
    แปลว่า : คนหัวดื้อบอกไม่นอนสอนไม่ได้ เรียก เหลือขอ.
  • เหลือเข็ญ
    แปลว่า : สิ่งที่ทำลงไปต้องประสบกับความยุ่งยากลำบากทั้งกำลังกายและกำลังใจ เรียก เหลือเข็ญ.
  • เหลือเข็น
    แปลว่า : เกินกำลังกายที่จะลากจะดึงไปได้ เช่น ขอนไม้หรือท่อนไม้ใหญ่ๆ ลากดึงไม่ได้ เรียก เหลือเข็น.
  • เหลือใช้
    แปลว่า : ของใช้ได้แก่เครื่องอุปโภค มีเรือนชานบ้านช่อง ไร่นาสาโท ผ้าผ่อนท่อนสะใบ เพชรนิลจินดาแก้วแหวนเงินคำ ของใช้เหล่านี้มีมากจะใช้เท่าไรก็ไม่หมด เรียก เหลือใช้.
  • เหลือเฟือ
    แปลว่า : มากเกินต้องการ ไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้ มีมากเกินความต้องการจะกินก็ไม่หมด จะใช้ก็ไม่หมด เรียก เหลือเฟือ.
  • เหลือล้น
    แปลว่า : มากจนไม่มีที่จะกองจะเก็บวางไว้ที่ไหนก็เต็มไปหมดจนล้นเหลือ เรียก เหลือล้น เหลือล้นพ้นประมาณ ก็ว่า.
  • เหลือวิสัย
    แปลว่า : เกินความสามารถที่จะทำเพราะผู้ที่ทำได้ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญเหมือนเรา ต้องเป็นเทวดาฟ้าดินพระอินทร์พระพรหมหรือท่านผู้มีฤทธิ์เดชจึงจะทำได้ เรียก เหลือวิสัย.
  • เหลือหลอ
    แปลว่า : หมดเกลี้ยง หมดไม่มีเหลือ โอก็หมด ข้าวเม่าก็หมด อย่างว่า โอกะเอาเข้าเหม้ากะกิน (ภาษิต).
  • เหลืออด
    แปลว่า : สุดที่จะกลั้นได้ ความอดมี ๓ อย่างคือ อดต่อความยากลำบาก อดต่อความตรากตรำ อดต่อความเจ็บใจ เมื่อความอดทั้ง ๓ อย่างนี้ไม่มี คนอาจจะทำสิ่งไม่ดีไม่งามลงไป แต่ถ้ามีความอดบางอย่างก็สามารถที่จะยับยั้งใจไม่ให้กระทำความผิดลงไป ผู้ไม่มีความอด เรียก เหลืออด.
  • เหลือแฮง
    แปลว่า : หมดกำลัง คนหมดกำลัง เรียก เหลือแฮง อย่างว่า เหลือแฮงแฮ้งบินแฮงอิดอ่อน ลมบ่มาช่อยแฮ้งบินได้กะบ่แฮง (กลอน) มันหลากเหลือแฮงแล้วปลาบืนยามเดือนสี่ เงี่ยงกะหลุ้ยคุยกะล้มปานนั้นว่าบ่บืน (บ.).