ภาษาอีสานทั้งหมด 1501 - 1510 จาก 17431

  • กสิกรรม
    แปลว่า : การทำไร่ไถนา.
  • กสิณ
    แปลว่า : กรรมฐานที่กำหนดสิ่งต่างๆ เป็นอารมณ์ มี 10 อย่าง กำหนดธาตุ ๔ อย่าง คือ ปฐวีกสิณ, อาโปกสิณ, เดโชกสิณ, วาโยกสิณ กำหนดสี ๔ อย่าง คือ นีลกสิณ, ปีตกสิณ, โลหิตกสิณ, โอทาตสิณ กำหนดอากาศ ๒อย่าง คือ อากาสกสิณ, อาโลกกสิณ
  • กอ
    แปลว่า : เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์ ,ชาติ, ตระกูลคนที่เกิดเชื้อสายเดียวกัน เช่น คนไทย คนลาว คนจีน เรียก กอ.
  • กอ
    แปลว่า : กลม คนที่มีตากลม เรียก ตากอ อย่างว่า แนวเด็กน้อยตากอความคึดม่อ ได้กอขอข้อหล้อความเว้าอยู่ดาว (กลอน).
  • ก่อ
    แปลว่า : ต้นเหตุทุกสิ่งเกิดจากเหตุต้นเหตุ เรียก ก่อ อย่างว่า ก่อชิหวัดคอบตากฝน ก่อชิไปอยู่ดนคอบเป็นไข้ ก่อชิมาไวคอบคึดฮอดแม่เสี่ยว (กลอน).
  • ก่อ
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่ง บางอย่างมีผลใช้กินได้ เช่น ก่อหนาม ก่อหีน ก่อเกลี้ยง ก่อขี้หมู.
  • ก่อ
    แปลว่า : ชื่อเห็ดชนิดหนึ่ง เกิดใต้ต้นก่อ มีสีแดง ใช้กินเป็นอาหารได้ เรียก เห็ดก่อ.
  • ก่อ
    แปลว่า : สร้าง, ทำ เช่น ปลวกทำรังเรียก ปลวกก่อฮัง เริ่มสานตระกร้าเรียก ก่อกะต้า อย่างว่า ปีนี้ก่อก้นไว้ปีหน้าจั่งค่อยสาน ปีหน้าสานบ่แล้วปีฮือชิสานต่อ ชาตินี้บ่แล้วชาติหน้าจั่งค่อยทำ (กลอน).
  • ก้อ
    แปลว่า : ม้วน เช่น ม้วนเชือกเรียก ก้อเชือก ม้วนใบตองเรียก ก้อตอง ม้วนด้ายเรียก ก้อฝ้าย ทำท่าตั้งมวยเรียก ก้อมวย.
  • กอก
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง เรียก หมากกอก มี ๒ ชนิด คือ กอกกินและกอกกัน กอกกันเรียก อ้อยช้าง.