ภาษาอีสานทั้งหมด 1561 - 1570 จาก 17431

  • กะจอง
    แปลว่า : จวัก จวักที่มีด้ามยาว ใช้ตักต้มหรือแกงได้ เรียก กะจอง จอง ก็ว่า อย่างว่า แนวจองบ่มีด้ามชิเป็นบ่วงตักแกง มีบุงบ่มีสายชิเกิดเป็นทอฮ้าง (ย่า).
  • กะจ้อน
    แปลว่า : ชื่อสัตว์เล็กชนิดหนึ่ง จำพวกกะรอกกะแต เรียก กะจ้อน อย่างว่าแลนลิ่นจ้อนทังไก้ไก่ยูง (ฮุ่ง).
  • กะจ้อนเน่า
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก กะจ้อนเน่า.
  • กะจะ
    แปลว่า : ขาว, แจ้ง สิ่งที่มองเห็นได้แจ่มแจ้งไม่มีอะไรปิดบังเรียก กะจะ เช่น ขาวกะจะ แจ้งกะจะ ลายกะจะ.
  • กะจัง
    แปลว่า : ชื่อลายชนิดหนึ่ง เรียก ลายกะจัง ใช้ประดับตามขอบหรือฐานของธรรมาสน์.
  • กะจัด
    แปลว่า : ถี่, ไม่ห่าง ไม่ห่างเรียก กะจัด กัดจัด ก็ว่า อย่างว่า ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเม็น ถี่กะจัดขี้ช้างกะลอด ห่างก่างจ่างขี้มอดกะคา (กลอน).
  • กะจัดกะจาย
    แปลว่า : ไม่เรียบร้อย, เกะกะ การวางของไว้ไม่เป็นระเบียบ เช่น ของสิบอย่างวางไว้สิบที่ เรียก กะจัดกะจาย ซะซายยายยัง ก็ว่า.
  • กะจั้น
    แปลว่า : สั้น ของที่เล็กและสั้นเรียก กะจั้น สั้น ก็ว่า.
  • กะจับ
    แปลว่า : ชื่อผักชนิดหนึ่ง มี ๒ ชนิด คือ กะจับเล็กและกะจับใหญ่ ใบและเม็ดใช้กินเป็นอาหารได้ เรียก กะจับ หมากจับ ก็ว่า.
  • กะจา
    แปลว่า : ครึ่งๆ กลางๆ เช่น แตงที่ครึ่งสุกครึ่งดิบ เรียก แตงกะจา ครึ่งชาวนาครึ่งพ่อค้า เรียก พ่อไฮ่กะจา อย่างว่า พ่อไฮ่กะจา พ่อนากะเทิน ครึ่งชาวนาครึ่งขุนนาง เรียก ขุนกะจา อย่างว่า ขุนกะจานี้เป็นพ่อนาดีกว่า เป็นพ่อนาเอื้อมอิ่มเข้าขุนกะจาเจ้าเอื้อมอิ่มลม (บ.).