ภาษาอีสานทั้งหมด 2101 - 2110 จาก 17431

  • กุ่ม
    แปลว่า : กุ่มน้ำ ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดตามริมน้ำ ก้านหนึ่งมีสามใบ ใบใช้ดองกินได้ เรียก ส้มผักกุ่ม อย่างว่า กกเบ็นน้ำกุ่มก่ามคลุมเครือ เจือระเนือติดป่าบอนปลาบ้อน (กาเผือก).
  • กุ่ม
    แปลว่า : ชื่อปลามีเกล็ดชนิดหนึ่ง คล้ายปลาตะเพียน แต่เล็กกว่าและเกล็ดถี่กว่า อย่างว่า บ้านข้อยพุ้นดินดำน้ำชุ่ม ปลากุ่มบ้อนคือแข้แกว่งหาง ปลานางบ้อนคือขางฟ้าหลั่น จักจั่นฮ้องคือฆ้องลั่นยาม (กลอน).
  • กุ้ม
    แปลว่า : กองข้าวเปลือก ข้าวเปลือกที่ตีแล้วกองไว้ในลาน เรียก กุ้มเข้า ชาวอีสานเมื่อเสร็จจากทำนาแล้ว จะเอาข้าวเปลือกมารวมกันทำบุญ เรียก บุญกุ้มเข้าใหญ่.
  • กุ้ม
    แปลว่า : สั้น ไก่หางสั้นเรียก ไก่กุ้ม อย่างว่า เชื้อชาติหางยาวสนุกแกว่ง เชื้อไก่กุ้มหางก้อมแกว่งบ่คือ (กลอน).
  • กุ้ม
    แปลว่า : ห้อมล้อม คนที่มีบริวารห้อมล้อมไปไหนมาไหนก็มีคนล้อมหน้าล้อมหลังเรียก กุ้ม อย่างว่า เขาก็เชิญกุมารีสู่ยานคนกุ้ม (กา).
  • กุ้ม
    แปลว่า : พอ, คุ้ม การหาอาหารมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ได้พออยู่พอกิน เรียก กุ้ม อย่างว่า เต่าหากินกุ้มปากเต่า แลนหากินกุ้มปากแลน (ภาษิต).
  • กุ้ม
    แปลว่า : ถึง, เผื่อ สุขทุกข์เป็นของเฉพาะตัวใครทำใครได้ จะทำเพื่อกันไม่ได้ อย่างว่า สุขกะสุขเพิ่นพุ้น บ่มากุ้มฮอกเฮา (ภาษิต).
  • กุ้ม
    แปลว่า : ปิด, บัง เมฆหมอกที่ตั้งขึ้นบนท้องงฟ้า ก็ปิดบังท้องฟ้าให้มืดมัว อย่างว่า มีแต่เหมือยหมอกกุ้มกวมกั้งมืดมัว (กา).
  • กุมภัณฑ์
    แปลว่า : ชื่อยักษ์ตนหนึ่งซึ่งได้รับอาญาสิทธิ์จากท้าวเวสสุวัณ ให้เป็นนายผีในมนุษย์โลก อย่างว่า มารือกุมภัณฑ์ผู้ลือเกียรติ์กงโลก เชื้อส่ำหน้านางท้าวค่อยคงแด่รือ (สังข์).
  • กุมภีล์
    แปลว่า : จระเข้ จระเข้เรียก กุมภีล์ แข้ ก็ว่า อย่างว่า สอนให้กุมภีล์แข้ลอยหนองมันบ่ค่อง สอนให้นาคเหล้นน้ำแนวนั้นแฮ่งบ่คือ (ผญา).