ภาษาอีสานทั้งหมด 2271 - 2280 จาก 17431

  • แก่ม
    แปลว่า : เกาะกิน, อาศัยกิน, สิ้นเปลืองคนที่อาศัยเกาะคนอื่นกิน เหมือนปลิงคอยดูดกินเลือด เรียก แก่ม อย่างว่า บ่มักน้องบ่เตื้องเปลืองเว้าแก่มกิน (เวส-กลอน) เหลียวเห็นหน้าแซมแลมย้านแต่แก่ม ความกินบ่แก่มเจ้า ความเว้าแก่มซู่คน (ภาษิต).
  • แก้ม
    แปลว่า : เนื้อหน้าทั้งสองข้าง ใต้ตาลงมาเรียก แก้ม แก้มอูม เรียก แกมเพ้า แก้มตอบ เรียก แก้มโวก แก้มไม่สะอาดเรียก แก้มปุยลุ่ย
  • แกล้ง
    แปลว่า : จงใจทำ, แสร้งทำ ไม่อยากทำแต่แสร้งทำ เรียก แกล้งเฮ็ด อย่างว่า พาโลนี้พางานสอนยาก เป็นดั่งไม้ท่อนฮ้ายตีขี้ใส่โต (ภาษิต).
  • แกล้ม
    แปลว่า : ของที่กินกับเหล้า กับแกล้ม ก็ว่า เรียก ของแกล้มเหล้า อย่างว่า ของบ่เป็นตากินอย่าเอามาแกล้ม ของบ่เป็นตาส้มอย่างมกินชิส้มปาก มันชิยากคอบท้องเทียวขี้ยั่งคืน (ย่า).
  • แกล้มม้อน
    แปลว่า : หั่นใบหม่อนเลี้ยงตัวไหมเรียก แกล้มม้อน.
  • แกว
    แปลว่า : พวก, หมู่, เหลา คนหรือสัตว์ที่อยู่ร่วมกันได้เรียก แกวเดียวกัน ถ้าอยู่ร่วมกันไม่ได้เรียกว่าไม่ใช่พวกหรือแกวเดียวกัน อย่างว่า กากับนกเค้าบ่เข้าฮ่อมแกวกันหนูกับแมวบ่อยู่นำกันได้ หมีกับไม้ผันทะนังค้อป่า จอนฟอนกับเห่าห้อมบ่มีมื้อชิถืกกัน (กลอน).
  • แกว
    แปลว่า : ชื่อมันชนิดหนึ่ง กินได้ มีสองชนิด คือ มันแกวธรรมดา และมันแกวสะเพา อย่างว่า พี่นี้ชกงกบ่ถืกตาหมากสีดาบ่ถืกแข้ว หัวมันแก้วบ่ถืกปั้นเข้าใหญ่ (กลอน).
  • แกว
    แปลว่า : ชื่อชนชาติอินโดจีนพวกหนึ่งที่มีเชื้อชาติแกว (ญวณ) เรียก แกว อย่างว่า ใจประสงค์แล้วเมืองแกวกะดั้นฮอด ใจประสงค์ยอดแก้วในถ่ำกะก่นหา (กลอน) บัดนี้แกวกะมวลพลข้วมกลายแดนภูทุ่มเฮาแล้ว (ฮุ่ง).
  • แกว
    แปลว่า : เกลียว เชือกที่ฟั่นเป็นเกลียวเรียก แกว ใช้เชือกฟั่นเรียก แกวเชือก ใช้ไหมฟั่นเรียก แกวไหม ใช้ด้ายฟั่นเรียก แกวฝ้าย อย่างว่า คือดั่งไหมแกวเดียวกล่อมกันพันเข้า (ขุนทึง).
  • แก่ว
    แปลว่า : เขต, แดน, ถิ่น, สถานที่ ที่อยู่ ของใครก็ของมัน ใครอยู่ที่ไหนที่นั้นก็เป็นแก่วของคนนั้น อย่างว่า ชิไปหยุดอยู่ยั้งบ้านเพิ่นกินหยังขงเมืองเฮา แก่วกินกะยังกว้าง (กลอน) ประดับปล่อยป้อมนครกว้างแก่วไกล (โสวัตร) ผ่อเห็นดงแดนขวางแก่วภูมิภายด้าว (หน้าผาก).