ภาษาอีสานทั้งหมด 2685 - 2694 จาก 17431

  • ขุน
    แปลว่า : ชื่อบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ ผู้ทำคุณงามความดี ได้รับยกยองจากพระราชามหากษัตริย์ให้มียศฐาบรรดาศักดิ์เป็นขุน ในวรรณคดีอีสานเรื่องสังข์ศิลปชัยก็ปรากฎว่าผู้ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุน มีขุนศรีกับขุนคอน.
  • ขุนเขือก
    แปลว่า : ขุนนางผู้มียศศักดิ์สูงกว่าขุนทั้งหลาย เรียก ขุนเขือก ขุนเล้ม ก็ว่า อย่างว่า ฝูงหมู่ขุ่นเขือกล้อมระวังท้าวป่าวไป (สังข์).
  • ขุนมาร
    แปลว่า : มารผู้มีอำนาจเต็มเรียก ขุนมาร เช่น ยักษ์กุมภัณฑ์ผู้ได้รับอาญาสิทธิ์จากท้าวเวสสุวัณให้ปกครองผีทั้งหมดในมนุษย์โลก อย่างว่า สังข์เลียบล้อมระวังเขตขุนมาร บาก็ยอมือตบแผ่นกระดานดังก้อง คำแถลงท้วงแทงกลกลอยกล่าวใผผู้ยั้งอยู่หั้นเห็นแล้วบ่ตีง แลนอ (สังข์).
  • ขุ่น
    แปลว่า : มัว, ไม่ใส น้ำที่ถูกสิ่งสกปรกปะปนเรียก น้ำขุ่น อย่างว่า ตกตาเหล้นเหล้นสาให้มันนวล ตกตากวนสาให้มันขุ่น กวนขุ่นแล้วซิวกุ้งหากชิงอม (กลอน).
  • ขุ่น
    แปลว่า : เศร้าหมอง, ไม่สดใส ใจที่ถูกกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ เรียก ใจขุ่น อย่างว่า บัวบ่ให้ซ้ำ น้ำบ่ให้ขุ่น ปลาในหนองจับกินให้เหมิด (ภาษิต)
  • ขุ้น
    แปลว่า : วุ่นวาย, เคี่ยวเข็ญ คนที่ถูกผู้มีอำนาจข่มขู่เคี่ยวเข็ญให้เกิดความวุ่นวาย เรียก ใจขุ่น ขุ่นข้อง ก็ว่า อย่างว่า หนี้จากฮ้อนมาพี้เพิ่งเย็น หนีเหม็นพุ้นหวังมาชมดวงดอก หนีจากน้ำขุ่นเขี้ยวมาพี้เพิ่งเย็น (ประวัติอุบล).
  • ขุ้น
    แปลว่า : ข้น, เกือบแห้ง เช่น น้ำข้นเกือบแห้ง เรียก น้ำขุ้น ข้ำขุ่น ก็ว่า อย่างว่า น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก (ภาษิต) พี่ก็เป็นโพยขุ้นเถิงตนจตุฆาต (กา).
  • ขุม
    แปลว่า : หลุม, บ่อ ดินที่ขุดเป็นหลุมเรียก ขุม เช่น ขุมเผือก ขุมมัน ขุมขี้ยาง อย่างว่า ฝนตกห้งไหลโฮมแต่บ่อนขุ่ม บ่อนใดสวดจุ้มกุ้มสังบ่ห้ง น่าหน่ายฝน (ผญา).
  • ขุม
    แปลว่า : รอยบุ๋มที่ตะโพกทั้งสองข้าง ของวัวควาย ถือว่าเป็นอัปลักษ์ เรียก ขุมผี อย่างว่า ขวยตูมขุมผี ขี้หีหลายหลาย แขวกขอดังดัง เข้าสวนดู๋ดู๋ สูอย่าไว้เดอบักเลน้อย (บ.).
  • ขุ่ม
    แปลว่า : ลุ่ม นาที่อยู่ในที่ลุ่มเรียก นาขุ่ม อย่างว่า ฝนตกห้งไหลโฮมแต่นาขุ่ม บ่อนใดสูงบ่ค้างโฮมห้งแต่บ่อนขุม ฝนตกห้งไหลลงนาขุ่ม ใผชิอุ้มมัดกล้าพาน้องย่ำดำ ฝนตกห้งไหลลงนาขุ่ม บ่อนใดสวดจุ้มบุ้มโฮมห้งหน้าหน่ายฝน (ผญา).