ภาษาอีสานทั้งหมด 2701 - 2710 จาก 17431
-
ขู
แปลว่า : บังคับ, เคี่ยวเข็ญ เช่น บังคับให้ทำ เรียก ขูผิด อย่างว่า แค้นเพื่อลูกจากขูพ้นพรากมา (บ.). -
ขู
แปลว่า : ร่วง, หล่น ผลไม้ที่สุกแล้วร่วงลงมาเรียก หมากไม้ขู ใบไม้ที่หล่นลงมาเรียก ใบไม้ขู อย่างว่า ผลผลาไม้ในดงขูหล่น (บ.). -
ขู่
แปลว่า : ทำให้กลัว, กำราบ เช่น ชูชกขู่กัณหาชาลีให้เกรงกลัว เรียก ขู่ ขู่เข็ญ ก็ว่า อย่างว่า ความประสงค์พราหมณ์เถ้าหัวที่ต้องผาบ กำฮาบแล้วขอได้จั่งชิกลัว (เวส-กลอน). -
ขูด
แปลว่า : โกนผม โกนผมก่อนจะบวชเรียก ขูดผม ขูดเกล้า ก็ว่า อย่างว่า มหากษัตริย์เจ้าจงจักบวช ขุนขูดเล้มโกนเกล้าเกษพระองค (สังข์). -
ขูลู
แปลว่า : ชื่อด้วงชนิดหนึ่ง ม้วนทำรังอยู่ใบกล้วย เรียก ด้วงขูลู. -
ขูลู
แปลว่า : ชื่อบ้งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเหลี่ยม สีเลื่อมเหมือนกระจก ห้อยอยู่ใต้ใบไม้ เรียก บ้งขูลู. -
ขูลู
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นขูลู คู่กับต้นนางอั้ว ต้นไม้สองชนิดนี้เกิดไม่ห่างกัน มีลักษณะคล้ายหน้าคน ต้นหนึ่งมีสายห้อยลงมาคล้ายหน้าคน ต้นหนึ่งมีสายห้อยลงมาคล้ายเชือก อีกต้นหนึ่งดุจเอามือถือดาบ เป็นต้นไม้มีดอกทั้งสอง มีกลิ่นหอมตอนหัวค่ำ . -
ขู้หลู้
แปลว่า : ใหญ่และสั้น ท่อนไม้ที่ใหญ่และสั้น เรียก สั้นขู้หลู้ อย่างว่า สั้นขู้หลู้บุป่าหนีเสียง น้อยน้อยยาวยาวไต่ฮาวมาหนี้ (ภาษิต). -
เข
แปลว่า : ตาเหล่ คนตาเหล่เรียก ตาเข. -
เข้
แปลว่า : เหไป, เฮโลไป กลุ่มคนที่เฮโลไป เรียก เข้ไปเข้มา โห้ ก็ว่า.