ภาษาอีสานทั้งหมด 3197 - 3206 จาก 17431

  • คาฮม
    แปลว่า : ถ้อยคำที่คมคาย ฝีปาก เรียก คาฮม คารม ก็ว่า.
  • คำ
    แปลว่า : ทองคำเรียก คำ ทองคำขาวเรียก คำด้วง ทองด้วง ก็ว่า ทองคำเปลวเรียก คำปลิว ทองคำที่ถลุงแล้วเรียก คำผาย แร่ทองคำที่ยังไม่ได้ถลุงเรียก คำผุย คำผง ก็ว่า ทองดอกบวบเรียก คำดอกบวบ อย่างว่า มณีโชติแก้วมหานิลดวงประเสริฐ บ่มีคำห่อหุ้มมณีแก้วก็เล่าจาง (กลอน).
  • คำ
    แปลว่า : ใช้นำหน้าชื่อบุคคล สัตว์และสิ่งของซึ่งเป็นที่รักและหวงแหน ถ้าเป็นคนว่า คำกอง คำแดง คำแพง คำแก้ว ถ้าเป็นสัตว์ว่า ช้างคำ ม้าคำ แมวคำ หมาคำ งัวคำ ควายคำ ถ้าเป็นสิ่งของว่า เฮือนคำ เฮือคำ เสื้อคำ ผ้าคำ แพรคำ ซิ่นคำ เป็นต้น.
  • ค่ำ
    แปลว่า : เวลาค่ำ เวลาที่พระอาทิตย์จวนจะตกเรียก เวลาค่ำ ถ้าพระอาทิตย์ตกแล้วพระจันทร์ส่องแสงขึ้นเรียก เวลากลางคืน เวลากลางคืนถ้าเป้นข้างแรมจะไม่มีแสงสว่าง เวลาจะไปมาต้องอาศัยแสงไฟ โบราณจึงว่า ค่ำมืดปืดตา คนไปกลางคืนต้องอาสัยแสงไฟมาช่วย จึงจะเห็นหนทาง.
  • ค่ำ
    แปลว่า : การนับวันทางจันทรคติ คือมองดูเดือนว่าข้างขึ้นหรือข้างแรม ถ้าขึ้นขึ้นกี่ค่ำ แรมแรมกี่ค่ำ.
  • ค้ำ
    แปลว่า : ว่านพลับพลึง ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านค้ำ ว่านชน ก็ว่า.
  • ค้ำ
    แปลว่า : สิ่งที่เป็นมงคล นำความสุขความเจริญมาให้ เรียก ของค้ำของคูณ เช่น แข้ว เขา นอ งา คุด แข้วหมูตัน งาช้างน้ำ สิ่งเหล่านี้คนโบราณถือว่าเป็นเครื่องค้ำของคูณ ใครมีไว้ในบ้านเรือนจะสมบูรณ์พูลสุขด้วยลาภยศ สรรเสริญ สุขตลอดกาล.
  • ค้ำ
    แปลว่า : เลี้ยง บำรุง รักษา พระสงฆ์ที่บวชในพระพุทธศาสนา อาศัยญาติโยมอุปถัมภ์ บำรุงด้วยปัจจัยสี่ ผู้ใดให้ปัจจัยเป็นประจำ พระสงฆ์จะเรียกคนนั้นถ้าเป็นผู้ชายเรียก พ่อออกค้ำ ผู้หญิงเรียก แม่ออกค้ำ.
  • ค้ำ
    แปลว่า : ไม้ค้ำ ธรรมเนียมมีอยู่ว่า เมื่อคนแก่คนเถ้าเจ็บป่วย รักษาด้วยหยูกยาไม่หาย ก็ทำพิธีรักษาทางด้านจิตวิทยาคือ หาไม้มาค้ำโพธิ์ค้ำไฮ แล้วทำการสะเดาะเคราะห์ให้ เรียก ค้ำดพธิ์ค้ำไฮ.
  • ค้ำ
    แปลว่า : สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล โบราณถือว่า เป็นสิ่งค้ำชูชีวิตคนให้เจริญรุ่งเรือง การทำบุญกุศลจะเป็นการให้ทานรักษาศีล และเจริญเมตตาภาวนา สิ่งเหล่านี้นอกจากจะค้ำชูคนผู้ทำให้มีความสุขความเจริญในภพนี้ เมื่อตายไปเกิดในภพหน้าก็ขะติดสอยห้อยตามไปค้ำชูในภพหน้าอีก.