ภาษาอีสานทั้งหมด 3307 - 3316 จาก 17431
-
เค้น
แปลว่า : เคล็ด ขาเคล็ดเรียก ขาเค้น แขนขัดเรียก แขนเค้น. -
เค็ม
แปลว่า : ชื่อรสชนิดหนึ่ง เช่น เกลือมีรสเค็ม อย่างว่า หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง (ปัญหา). -
เคย
แปลว่า : ลูกสะบ้า ลูกสะบ้าเรียก หมากบ้า อี่เคย ก็ว่า. -
เคย
แปลว่า : ชิน คุ้น คนที่กระทำสิ่งใดจนชินมาแล้วเรียก เคย เช่น เคยเว้า เคยเฮ็ด เคยคึด อย่างว่า สิบฮู้บ่ท่อเคย สิบลูกเขยบ่ท่อพ่อเถ้า สิบเว้าบ่ท่อเฮ็ดท่อทำ (ภาษิต). -
เครา
แปลว่า : ขนที่เกิดตามแก้มหรือขากรรไกรเรียก เครา. -
เครา
แปลว่า : เชือกที่ใช้ร้อยจมูกวัวควาย ร้อยจมูกวัวเรียก เครางัว ร้อยจมูกควายเรียก เคราควาย อย่างว่า ผูกควายใส่หีนลาด เคราบ่ขาดควายกะตาย (ภาษิต). -
เครา
แปลว่า : เครื่องใช้สอยโบราณ เรียก เครื่องเครา อย่างว่า สะพรั่งพร้อมพราหมนาสปโรหิต เฮียงมือประดับอ่านพรถวายถ้อย มุนนายพร้อมถวายเทียนทูลบาท เสด็จเลิกแล้วคาเมี้ยนเครื่องเครา (สังข์). -
เคร่า
แปลว่า : เดินชะลอ การเดินรอกันให้คนหนึ่งเดินออกหน้าคนหนึ่งเดินตามหลังเรียก ย่างเคร่า ย่างค่าว ก็ว่า. -
เครือ
แปลว่า : ไม้เถา เรียก เครือ เช่น เครือหวาย เครือหมากยาง เครือหม้วย. -
เครือ
แปลว่า : เสียงแตกเรียก เสียงเครือ ชายหญิงที่อายุย่างเข้าวัยหนุ่มสาว เสียงจะเปลี่ยนจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ ในระยะเสียงแตกนี้เรียก เสียงเครือ อย่างว่า เครือเครือเสียงนางแสงส่องคดีดูเผี้ยน (ฮุ่ง).