ภาษาอีสานทั้งหมด 3327 - 3336 จาก 17431
-
เคาะเยาะ
แปลว่า : อาการเต้นของกบหรือเขียดตัวเล็กๆ ว่า เต้นเคาะเยาะ เคาะเยาะแคะแยะ ก็ว่า ถ้าตัวใหญ่ว่า เต้นโคะโยะ เต้นโคะโยะเคะเยะ ก็ว่า. -
เคิก
แปลว่า : เสียเวลา เช่น ถึงเวลากินไม่ได้กินเรียก เคิกกิน ถึงเวลานอนไม่ได้นอน เรียก เคิกนอน ถึงเวลาไปไม่ได้ไปเรียก เคิกไป. -
เคิง
แปลว่า : ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด โคนหางคอด ปากกว้าง หูแดง มีลักษณะคล้ายปลาปึ่ง แต่โตกว่า เรียก ปลาเคิง อย่างว่า มีทังปลาเคิงค้าวกะแยงโคเป้าป่านดุกเดินข้อเข็งบ้อนป่าบอน (เวส-กลอน). -
เคิ่ง
แปลว่า : ครึ่ง กึ่ง ส่วนหนึ่งในสองส่วน เรียก เคิ่ง เคิ่งหนึ่ง ก็ว่า อย่างว่า ข้าจักให้เคิ่งหนึ่งแต่เจ้าทังสอง (เวส). -
เคียง
แปลว่า : เหล็กสามขา มีวงกลมยึดข้างบนใช้แทนก้อนเส้าในเวลาเดินทางไกลเรียก เคียง อีกอย่างหนึ่งเป็นเหล้กแบนปลายเสี้ยม มีด้ามใช้โบกปูนทาโบสถ์และตึกเรียก เคียง เกียง ก็ว่า. -
เคียงคีง
แปลว่า : คู่ครอง ผู้ใกล้ชิด ผู้ใกล้ชิดฐานเป็นคู่ครอง เรียก เคียงคีง อย่างว่า แม่นว่าแสนนางน้อมเคียงคีงมามอบ บ่อาจหายฮุ่งฮู้กระบวนฮ้อนฮอดนาง (สังข์). -
เคียด
แปลว่า : โกรธ เคือง แสดงอาการโกรธเคืองเรียก เคียด อย่างว่า ค้อมว่านางกล่าวแล้วท้าวเคียดคุงใจ (สังข์). -
เคียดเนียด
แปลว่า : ตรงแน่ว สิ่งที่ตรงแน่ว เช่น ไม้ตรงและยาว เรียก ซื่อเคียดเนียด. -
เคียน
แปลว่า : พัน คาด เอาผ้าพันเอว เรียก เอาผ้าเคียนแอว ผ้าคาดหัวเรียก ผ้าเคียนหัว. -
เคียน
แปลว่า : ผูก มัด ผูกมัดเรียก เคียน อย่างว่า พะวงคำย้องประโคนคำเคียนคาด (กา) นางจิ่งทวายมือเปื้องไหมคำเคียนคาด (ขูลู).