ภาษาอีสานทั้งหมด 3421 - 3430 จาก 17431
-
โคะโยะ
แปลว่า : การเต้นไปของสัตว์ตัวใหญ่ เรียก เต้นโคะโยะ โคะโยะเคะเยะ ก็ว่า. -
ใค
แปลว่า : ชื่อเห็ดชนิดหนึ่ง เกิดตามป่าหรือจอมปลวก (โพน) มีกลิ่นหอม สีเหมือนสีขี้ไคล เรียก เห็ดใค. -
ใค่
แปลว่า : พอง บวม ฟกบวม เรียก ใค่ อย่างว่า ใค่ทังคีงดิ้นดั่น เนื้อเจ้าสั่นเฮฮน (เวส) ท้องเถ้าใค่คุงคาง มันก็เฮ็ดสีทนหนหวยใจจักขาด กลิ้งอยู่เอือเลือ (เวส). -
ใคร่
แปลว่า : อยาก ใฝ่ ประสงค์ อยากได้เรียก ใคร่ อย่างว่า บัดนี้เฮาใคร่ได้เป็นมิ่งมเหสี องค์กูจักใคร่ลาคุณแก้ว เอาตนเข้าครองนครสองเล่า สูท่านเถ้าเห็นด้วยดั่งใด (สังข์). -
ไค
แปลว่า : ทุเลา เบา ดีขึ้น เวลาเจ็บป่วยอาการป่วยทุเลา เรียก ไค ไคแน่ ไคหลาย ก็ว่า. -
ไค้
แปลว่า : ตะไคร้ , แคน ,กลอง , ยิง , ปีกุน -
ไคล
แปลว่า : เหงื่อ เหงื่อที่ปนกับละอองแห้งเกรอะกรังอยู่ตามร่างกาย เรียก ขี้ไคล อย่างว่า พอคราวท้าวสีไคลล้างลูบ แล้วแต่งเนื้อพะเนผ้ายย่างเชิง (สังข์). -
ไคลคลา
แปลว่า : ไป อย่างว่า พี่จักไคลคลาสร้อยนงสีกูก่อน (ฮุ่ง). -
ไคว
แปลว่า : โยก คลอน สะเทือน อย่างว่า นับอ่านได้ล้านหนึ่งพลหาญ ฮองอาสาช่วงทางทัพหน้า หมู่หนึ่งฮู้แป่ม้างพะลานท้าวไควคอน เลาลมหลวงออกดังสองก้ำ เค็งเค็งท้อนธุลีแดนดับโลก ขันแป่ม้างตางเจ้าฝ่ายขวา (สังข์). -
หมอธรรม
แปลว่า : เป็นผู้ที่เรียนรู้วิชาอาคมและปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม เป็นบุคคลที่ชาวบ้านเคารพนับถือ สามารถขจัดปัดเป่าผีร้ายเมื่อเกิดการเจ็บป่วยอันมีสาเหตุมาจากการถูกผีร้ายกระทำ เช่นผีปอบ ผีโพง ชาวบ้านมักจะมาให้หมอธรรมผูกฝ้าย รดน้ำมนต์ พร้อมๆ กับการรักษาด้วยสมุนไพร