ภาษาอีสานทั้งหมด 4131 - 4140 จาก 17431
-
ฉวย
แปลว่า : คว้าจับ อย่างว่า ฉวยถืกเต้านมคั้นบ่วาง (กา) พระก็ฉวยจักรแก้วกลอยใจจรเมฆ คือคู่ยนตร์ยาตรผ้ายผยองล้ำล่วงบน (สังข์). -
ฉวี
แปลว่า : ผิวกาย (ป.ส.) อย่างว่า สุขุมัจฉวีเนื้อเกลี้ยงอ่อนผิวนวล คือ ทองทาทั่วโตเต็มเนื้อ ขอให้สีใสเหลื้อมนวลในผิวผ่องใผเหลียวเห็นอยากต้องใจสบั้นท่าวทวง (เวส-กลอน). -
ฉัททันต์
แปลว่า : ช้างเผือกตระกูลหนึ่ง เรียก ช้างฉัททันต์ สารทันต์ ก็ว่า อย่างว่า มีทังสาทันต์ช้างในโฮงนับหมื่น (กา). -
ฉัน
แปลว่า : เสมอ เหมือน คือ สิ่งที่เสมอกัน เหมือนกัน คือกัน เรียก ฉัน อย่างว่า เอื้อยนี้แนวนามเชื้อฉันเดียวโดยชาติ เชิญหม่อมมาจอดยั้งยาย้านเกลียดกลัว เอื้อยนี้ธีตาไท้ครองนครทองท้าวใหญ่ พ่อให้มาอยู่ต้อนแพงล้านล่วงไพรพี่แล้ว (สังข์). -
ฉัพพัณณรังสี
แปลว่า : รัศมีมี ๖ ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าเปล่งออกคราวเสด็จไปโปรดพระเจ้าสุทโธทนะมหาราชพุทธบิดาที่เมืองกบิลพัสดุ์รัศมี ๖ ประการ คือ ๑ นีละ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒ ปิตะ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓ โลหิตะ สีแดงเหมือนตะวันอ่อน -
ฉายา
แปลว่า : เงาเรียก ฉายา (ป.) อย่างว่า ฉายายลล่วงลงคลาคล้อย (สังข์) ร่มไม้เรียก ฉายาไม้ อย่างว่า ฉายาไม้เงาไฮเอียงอ่วยเถิงเมื่อแลงค่ำค้อยบาท้าวจอดนอน (กา). -
ฉำฉา
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้เนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีกิ่งก้านสาขาแผ่ปกคลุมไปกว้างไกล เมื่อถูกลมพัดมักจะหักง่าย เป็นไม้น้ำหนักเบาเหมาะสำหรับปลูกครั่ง ใช้ทำลังบรรจุสิ่งของส่งไปทางไกล เรียก ต้นฉำฉา ก้ามปู กะปู ก็ว่า. -
ฉิ่ง
แปลว่า : เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลมคล้ายถ้วย เจาะรูตรงกลาง ใช้เชือกร้อยให้เป็นคู่กันสำหรับถือตีบอกจังหวะ หรือตีประสานกับเสียงกลอง ฉิ่งมี ๒ ชนิดคือชนิดเล้กและใหญ่ ถ้าเล็กเรียก ฉิ่ง ถ้าใหญ่เรียก แฉ่ง เรียก แส่ง ก็มี. -
ฉิมพลี
แปลว่า : ไม้งิ้ว ต้นงิ้วที่เกิดรอบสระเรียก สระฉิมพลี อย่างว่า ปืนเล่ายังแสวงเท้าฉิมพลีสระใหญ่ ผันล่วงเข้าเถิงท้าวครุฑหลวง (สังข์) หลิงดูมาลาพร้อมฉิมพลีงิ้วง่า (ผาแดง). -
ฉุย
แปลว่า : เฉียดไป เฉี่ยวไป การเดินเฉียดไปเรีกย ย่างฉุยไป.