ภาษาอีสานทั้งหมด 4171 - 4180 จาก 17431

  • ชลเนตร
    แปลว่า : น้ำตา อย่างว่า พร่างพร่างน้ำชลเนตรนองไหล กลัวตายทุกทั่วแดนดูฮ้าย นาโคเยื้อนโยมความขอโทษ เจ้าจ่งโผดข้าเถ้าทังเชื้อซู่ชุม แด่ถ้อน (สังข์) เทื่อนี้วางวอนไว้เวียนเมือเมืองเก่าชลเนตรล้างโลมหน้าอยู่เลิง (ฮุ่ง).
  • ชลหลวง
    แปลว่า : แม่น้ำใหญ่ มหาสมุทร อย่างว่า คอยดูฟองขาวบ้าชลหลวงหลายย่าน น้ำนั้นห้าโยชน์ได้ดูกว้างกว่าไกล (สังข์) ชลหลวงล้อมระวังดูคนคั่ง บ่ฮู้กี่หมื่นชั้นชาวค้าท่องเที่ยว (สังข์).
  • ชลา
    แปลว่า : น้ำ แม่น้ำ ทะเล อย่างว่า เหมือนดั่งนิโครธค้อมแคมท่าชลาไหล คองว่าวายวันคืนบ่เป็นไปได้ อันหนึ่งเป็นดั่งถกถอนไว้ยังหางหลกปีก ครุฑขนาดน้อมนอนค้างแค่ตม นั้นแล้ว (สังข์).
  • ชลี
    แปลว่า : ไหว้ ตัดมาจาก อัญชลี แผลงเป็น เองชุลี ชุลี ชลี ก็ว่า (ป.) อย่างว่า คอนก็เองชุลีเลยเลิกลาลงห้อง ไหไหม้ามโนพราวพับแล่น ดีท่อลมลวดไม้ดังก้องแกว่งปิว (ฮุ่ง) สวัสดีน้อมในธรรมพุทธบาท คุณพระยกใส่เกล้าชุลีล้ำยอดญาณ (สังข์).
  • ชเล
    แปลว่า : น้ำ แม่น้ำ ทะเล อย่างว่า เหตุว่าหมองหมื่นชั้นสองภาคเพ็งเสมอ เป็นดั่งแปวชะเลไหลหลีกคอนไคได้ เมื่อนั้นความเซ็งเท้าเป็งจาลฮู้เหตุเยาวราชผู้คีงค้อมแม่เมือง (สังข์).
  • ช่วง
    แปลว่า : รับใช้ คนรับใช้เรียก ข้าช่วงใช้ ข้าใช้ช่วง ก็ว่า คนประเภทนี้รับใช้ในกิจกี่ทุกอย่าง แม้ชีวิตก็ยอมสละ อย่างว่า แม้นว่าข้าแต่งต้นใช้ช่วงบัวระบัติก็ดี เขาก็ยินดีสุขฮ่วมบุญบาท้าว องค์ก็ปลงประทานให้นางงามคนคู่เสื้อผ้าพร้อมคำเข้มคู่คน (สังข์).
  • ช่วง
    แปลว่า : แย่ง ชิง การแย่งชิงเอาเรียก ช่วงชิง ยาดชิง ก็ว่า อย่างว่า มันก็กลับก่ายปลิ้นเป็นไก่แสนตัว คนิงเนืองสมช่วงชิงนางได้ มหามารอุ้มเอาได้ด่วน แยงสู่พื้นกระดานดั้นดั่งลม (สังข์).
  • ชวด
    แปลว่า : เกิน พ้น เต็ม แก่เกินไปเรียก ชวดชรา ไกลเกินไปเรียก ชวดประมาณ เต็มบริบูรณ์เรียก ชวดเพ็ง น้ำตาเต็มเบ้าตาเรียก ชวดชลธี อย่างว่า เมื่อนั้นนางคั่งแค้นขนังชวดชลธี ทนทวงแถลงค่อยทูลทังเยื้อน (สังข์).
  • ชวน
    แปลว่า : เชื้อเชิญ ชักนำ โน้มน้าว อย่างว่า ศรีใสแก้วไปใดดั้นดุ่งวอนเอย เชิญหม่อมมาจอดยั้งดอมเอื้อยให้อุ่นใจ แด่ถ้อน (สังข์).
  • ช่วย
    แปลว่า : ส่งเสริม ป้องกัน การส่งเสริมให้สำเร็จประโยชน์เรียก ช่วย ช่อย ก็ว่า เช่นเขาช่วยเราเท่าไร เราก็ช่วยเขาเท่านั้น เรียก ช่วย ถ้าช่วยเกินกว่าเรียก ช่วยเหลือ อย่างว่า เพิ่นบ่เอิ้นอย่าขาน เพิ่นบ่วานอย่าช่อย มักช่อยแท้ให้พิจารณา (เสียวสวาสดิ์)