ภาษาอีสานทั้งหมด 4931 - 4940 จาก 17431
-
ต่วง
แปลว่า : เชือก บ่วง เชือกที่ผุกถ่วงโบดหรือโหวด เรียก ต่วง ต่อง ก็ว่า. -
ต้วง
แปลว่า : กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งของปลาร้า เมื่อนำเอาไปทำส้มตำรสอร่ยเป็นพิเศษ เรียก ปลาแดกต้วง อย่างว่า อย่าลืมซุบหมากมี้ของดีตั้งแต่ปู่ อย่าลืมปลาแดกต้วงตำส้มหมากหุ่งเฮา (เสียวสวาสดิ์). -
ต้วด
แปลว่า : พ่อแม่ของปู่ย่า เรียก ต้วด ทวด ก็ว่า เช่น ปู่ต้วด ย่าต้วด. -
ตวดตวด
แปลว่า : เจ็บปวดเป็นระยะเรียก เจ็บตวดตวด ควันโขมงเรียก ควันตวดตวด. -
ต่วน
แปลว่า : ชื่อแพรชนิดหนึ่ง เนื้อเกลี้ยงเป็นมันด้านเดียว เรียก ผ้าต่วน. -
ตวบซวบ
แปลว่า : ใบกล้วยที่ถูกไฟไหม้หย่อนลู่ลงมา เรียก หย่อนตวบซวบ. -
ตวย
แปลว่า : ด้วย โดย ตาม อย่างว่า บาก็ตวยตามเข้าหอปรางค์ผาสาท (กา) เฮาจักตวยตามน้องเอากระบวนก้าวแกว่ง เมื่อนั้นท้าวถ่ายผ้าผืนเล้มแต่งตัว (สังข์). -
ต้วย
แปลว่า : เช็ด ป้าย สัมผัส เอามือเช็ดขี้มูก เรียก เอามือต้วยขี้มูก เอามือป้ายแก้มเรียก เอามือต้วยแก้ม เอามือสัมผัสนมเรียก เอามือต้วยนม. -
ตวยคำ
แปลว่า : ขันหมาก ขันหมากเรียก ตวยคำ อย่างว่า สาวก็ยอตวยคำยื่นสลาถวายเจ้า (กา). -
ต้วยซ้วย
แปลว่า : หย่อนยาน สิ่งที่มีลักษณะหย่อนยานลงมาเรียก ยานต้วยซ้วย อย่างว่า นมมันยานต้วยซ้วย (เวส).