ภาษาอีสานทั้งหมด 4911 - 4920 จาก 17431
-
ตรอง
แปลว่า : เลือก คัด เลือกคัดเอาแต่น้ำที่สะอาด เรียก ตรองน้ำ เลือกให้พรเรียก ตรองพร อย่างว่า พราหมณาตั้งตรองพรพลันกล่าว ให้ลูกเจ้าลุ่มฟ้าปุนแพ้หมู่มาร แด่เนอ (สังข์). -
ตรอม
แปลว่า : เศร้าใจ ระทมใจ อย่างว่า ตีทวงทบท่าวตนตรอมเมี้ยน (กา) ดูนันเท้าคือเมืองจักหว่า นางนาถง้อมยินหม้อมอยู่ตรอม (ฮุ่ง) นับแต่เจ้าจากไว้วางเหยื่ออาหาร ทังมวลเมิลอยู่ตรอมตนเศร้า เขาก็ทรงสลอนค้างคาคอนคองราช ก็บ่กินเหยื่อหญ้าคอยเยี้ยมอยู่เหงา (สังข์). -
ตรอม
แปลว่า : เหี่ยวแห้ง อย่างว่า หน้าเหี่ยวแห้งสองคิ้วไต่ตรอม (กา) ดูนานได้เจ็ดเดือนวันออกมานี้ พี่ท่านเศร้าหมองมั้วหม่นตรอม (สังข์). -
ตระการ
แปลว่า : งาม ประหลาด หลาก อย่างว่า พวกหนึ่งปลูกกล้วยอ้อยประดับจิ่มแคมทาง ดูตระการงามดั่งสวนสวรรค์ฟ้า (สังข์) ที่นั้นอยู่สนุกล้นตระการกองมี้ม่วง (กา). -
ตระกูล
แปลว่า : วงศ์ เชื้อสาย เผ่าพันธุ์ กะกูล ก็ว่า อย่างว่า ดูดั่งกะกูลเชื้อแนวนามในราช (สังข์). -
ตรัยพระติงสา
แปลว่า : ชื่อสวรรค์ชั้นดาวดึงส์คือสวรรค์ชั้นที่สอง ในจำพวกสวรรค์หกชั้น อย่างว่า เขาก็ชมงันขึ้นตาวติงสาพร้อมยี่ แม่นว่าได้หมื่นมื้อหายเศร้าสว่างกระสัน (ฮุ่ง). -
ตรา
แปลว่า : เครื่องหมายที่ทำเป็นรูปและลวดลายต่างๆ สำหรับประทับหรือตีลงในกระดาษ เรียก ตรา เขียนในแผ่นผ้าในใบลาน เรียก ตราสาร อย่างว่า ท่อว่าเฮาจัดแปลงสารตราใส่สมผืนผ้า (ฮุ่ง). -
ตรากตรำ
แปลว่า : คนทำอย่างไม่คิดถึงความยากลำบาก เช่น ทำงานตรากตรำ กากกำ ก็ว่า. -
ตราบ
แปลว่า : ข้าง ฝ่าย ฟาก ริม ริมห้วย เรียก ตาบห้วย อย่างว่า ทุกตาบห้วย ไม้ช่อชมบานพุ้นเยอ ฮีไฮจับกิ่งฮังเฮฮ้อง มโนโคดแค้นทนท้วงเปลี่ยวใน (ฮุ่ง) ม้าปีกป้องสองตาบเติมดี ชายฮามดูเดชเค็มเฮาฮู้ (สังข์). -
ตราบ
แปลว่า : ตราบเท่า ตลอด อย่างว่า เจ็ดวันเข้ามาเมืองหาแม่ ตราบต่อเท้าชีวังเมี้ยนจิ่งเซา (สังข์).