ภาษาอีสานทั้งหมด 5416 - 5425 จาก 17431

  • เถกิง
    แปลว่า : สูงศักดิ์ รุ่งเรือง สวยงาม สวยงามเรียก เถกิง ตะเกิง ก็ว่า อย่างว่า ตะเกิงหน้านงพราวผงใหญ่ งามเลิศล้ำลือเท้าหมื่นเมือง (สังข์) คิ้วก่องค้อมตะเกิงหน้าแข่งเขียน (สังข์).
  • เถ้ง
    แปลว่า : แอ่นงอน ก้นที่มีลักษณะแอ่นงอนมาก เรียก ก้นแอ่นเอ้งเถ้ง แอ้งแถ้ง อย่างว่า ญิงใดก้นแอ้งแถ้งแงนเบิดคืนหลัง ดังโขโมคือยักษ์ย่างแพนแงนก้น ญิงนั้นจนเถิงเถ้าใจเบาเคียดง่าย อย่าได้หมายอยู่ช้อนเมือหน้าบ่ดี (คำสอน).
  • เถไถ
    แปลว่า : เถลไถล คนประพฤติไม่ตรงไปตรงมา เรียก คนเถไถ.
  • เถน
    แปลว่า : ตาเถน ตาผ้าขาว คนบวชนุ่งขาวห่มขาว โบราณเรียก ตาเถน ตาผ้าขาว ก็ว่า.
  • เถน
    แปลว่า : ผู้ที่บวชนุ่งเหลืองห่มเหลือง แต่ไม่เคร่งครัดในวินัย ประพฤติตนเยี่ยงโจร ปล้นพระพุทธศาสนาหากินในทางมิชอบเรียก เถน (ป. เถโน ขโมย).
  • เถโน
    แปลว่า : ขโมย โจร ผู้ที่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ จะเป็นโจรหรือไม่ให้ถือเจตนาของผู้ถือเอาเป็นเครื่องตัดสิน ถ้าเขาถือเอาด้วยวิสาสะคุ้นเคยกันก็ไม่ถือว่าเป็นโจร ต้องครบองค์ 4 คือ ถือเอาของที่เขาไม่ให้ ใจเป็นโจร ถือเอาด้วยอาการเป็นโจร ได้ของมาด้วยอาการเป็นโจร.
  • เถมิน
    แปลว่า : พวก เหล่า ทหาร พรานป่า (ข. เถมิร ผู้เดิน) เช่น เถมินเชิง พลเดินเท้า เถมินไพร พรานป่า.
  • เถยยะ
    แปลว่า : ความเป็นโจร เถยยจิต จิตคิดเป็นโจร เถยยเจตนา ความตั้งใจจะเป็นโจร.
  • เถร
    แปลว่า : สามเณรผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ หรือผู้มีอายุครบแต่ไม่บวชเป็นพระ ด้วยเห็นว่าการบวชเป็นพระนั้นลำบากต่อการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงอยู่ในเพศสามเณรตลอดไป โบราณเรียกว่า เถร คือสามเณรโคร่งนั่นเอง.
  • เถรราช
    แปลว่า : พระเจ้าแผ่นดินอุปสมบท ถึงอายุพรรษาจะไม่มาก ก็นิยมเรียก เถรราช อย่างว่า พอมหาเถรไท้ธรงธรรมกุศราช เดินฮอดแล้วกลางคุ้มข่วงปรางค์ เขาก็สนสนเข้ายาครูใส่บาตร มหาเถรราชเจ้าแลแล้วลวดกระสัน (สังข์).