ภาษาอีสานทั้งหมด 5981 - 5990 จาก 17431

  • เนอ
    แปลว่า : เป็นคำบอกและชักชวน เช่น มากินนำกันเนอ ไปนำกันเนอ เป็นต้น.
  • เนาะ
    แปลว่า : เป็นคำพูดชักชวน เช่น ไปนำกันเนาะ กินนำกันเนาะ เป็นคำที่ใช้ยืนยัน เช่น อีหลีล่ะเนาะ แปลว่า ก็จริงน่ะสิ
  • เนิ้ง
    แปลว่า : เอน เอียง ไม่ตรง ต้นไม้เอนเรียก ต้นไม้เนิ้ง อย่างว่า พี่อยากถามข่าวเถิงกกโกส้มกกยมเฮาเคยลอด มีผู้หักง่าชันมีผู้ฟันง่าเนิ้ง ตายเฟื้องเคิ่งลำแล้วบอ (ผาแดง).
  • เนี่ยน
    แปลว่า : ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง เรียก เนี่ยนหมากเขือ คือเอามะเขือต้มให้สุกตำคลุกด้วยเครื่องปรุงมีหอมและกระเทียม.
  • แนม
    แปลว่า : มองตาม มองดู อย่างว่า บัดนี้กาละนับมื้อส้วยงัวควายบ่ได้ปล่อย เด็กน้อยเป็นผู้เลี้ยงคนเถ้านั่งแนม (กลอน) สังมาแนมตาสิ้งหลิงตาบ่พอหน่วย (กา) อันว่าฮมฮักเจ้าเจืองลุนล้านส่ำอมโนนาถไท้แนมน้องบ่วาง (ฮุ่ง).
  • บ่าว
    แปลว่า : คนใช้ ชายหนุ่ม เรียกชายที่เข้าในพิธีสมรสว่า เจ้าบ่าว คู่กับหญิงผู้เข้าพิธีสมรสว่า เจ้าสาว ข้าทาสบริวารเรียก บ่าวไพร่ อย่างว่า อาฮมดิ้นดวงแดดิ้นเกี่ยวภายยี่ผู้ใจแจ้งบ่าวบา (ฮุ่ง).
  • บ้ำ
    แปลว่า : บุม บุ๋ม รอยลึกลงไปเรียก บ้ำ อย่างว่า มีปากบ่มีแข้วพร้อม คางชิบ้ำฮอดดัง (ย่า) แฮ่งทุกข์แฮ่งซ้ำ หีบ้ำถืกโคยกิ (ภาษิต).
  • บิ
    แปลว่า : ทำให้หลุดออกด้วยนิ้วมือ เรียก บิ บี่ ก็ว่า เช่น บิหมากมี้ บิหมากม่วง อย่างว่า บาก็บายเอาได้ผลผลามาบี่ (ขุนทึง).
  • บิ่น
    แปลว่า : หลุดออก แตกออก แตกออกนิดๆ เรียก บิ่น อย่างว่า กล้าหวายมันบิ่น (ภาษิต).
  • บิ้น
    แปลว่า : อาการที่น้ำไหลออกจากรูเล็กๆ เรียก ไหลบิ้นบิ้น ไหลออกจากรูใหญ่เรียก ไหลบุ้นบุ้น บึ้นบึ้น ก็ว่า.