ภาษาอีสานทั้งหมด 6001 - 6010 จาก 17431
-
ปางลาง
แปลว่า : เครื่องตีชนิดหนึ่ง คล้ายโปงลาง หล่อเป็นลูกกลมเหมือนกระดิง แต่ใหญ่กว่ากระดิง ตีรางไม้สี่เหลี่ยมแขวนปางลางสองลูกไว้ สำหรับพ่อค้าขายวัวควายคนอีสานสมัยก่อนใช้ติดเกวียนเพื่อให้แนวหน้าแนวหลังติดต่อกันทุกระยะ ก็อาศัยเสียงปางลางนี้เอง อันนี้แหละเรียก ปางลาง โปงลาง ก็ว่า อย่างว่า หมากปางลางกระดิงงัวต่าง ลงไปล่างนำอ้ายบ่สาว งัวสีเข้มแดงทองทังคู่ซื้อพุ้นคู่ห้าขายพี้คู่ซาว มันบ่มีจนย้อนขายงัวออกเคิ่ง คันผู้สาวอยากได้ให้มีชู้แลกเอา (กลอน). -
ป้างหง้าง
แปลว่า : อาการที่คนหรือสัตว์ล้มหงายหน้าขึ้น เรียก ล้มป้างหง้าง ถ้าเล็กเรียก ล้มแป้งแหง่ง. -
ป้าน
แปลว่า : ต่อสู้ รบ อย่างว่า คันหากพลแพ่งป้านชิปุ้นใช้แอ่วเอา พี่เอย (สังข์). -
ป้าน
แปลว่า : ปกครอง อย่างว่า ยังจักได้อยู่ป้านปุนเฝ้าฝ่ายหลัง (ฮุ่ง). -
ป้าน
แปลว่า : กั้น ปิด ทด ทดน้ำเรียก ป้านน้ำ อย่างว่า ใผห่อนป้านแม่น้ำให้ขาดเขินวังได้เด อันหนึ่งทินกรเฮืองเฮื่อแสงใสแจ้ง ใผปองได้ดูฮุนฮอยยาก ง้อมกล่าวเกลี้ยงกลอนช้อยชอบธรรม (ฮุ่ง). -
ปีบ
แปลว่า : เสียงที่เปล่งออกมาด้วยความเบิกบานและสนุกสนาน เรียก ปีบ คู่กับ โฮ เป็น ปีบโฮ ปีบโห่โฮแซว ก็ว่า. -
ปึก
แปลว่า : โง่ ทึบ คนโง่ทึบจดจำอะไรไม่ได้เรียก คนปึก ปึกหนา ก็ว่า. -
ปึก
แปลว่า : กระดาษหลายแผ่นเรียก กระดาษปึก น้ำอ้อยก้อนหนาๆ เรียก น้ำอ้อยปึก. -
ปึ่ง
แปลว่า : กว้าง ใหญ่ จมูกโตและรูกว้างเรียก ดังปึ่ง อย่าว่า อย่าได้ติดตามก้นของคนท้องยึ่ง มันชิตดใส่เจ้าดังเว้อปึ่งเหม็น (ย่า). -
ปึ้ง
แปลว่า : สมุดหรือหนังสือเป็นเล่ม โบราณเรียก ปึ้ง ปึ้ม ก็ว่า.