ภาษาอีสานทั้งหมด 6031 - 6040 จาก 17431

  • ส้น
    แปลว่า : ส่วนท้ายของเท้า เรียก ส้นน่อง เดินตามหลัง เรียก ติดตามส้น อย่างว่า อย่าได้ติดตามส้นของคนท้องยึ่ง มันชิตดใส่เจ้าดังเว้อปึ่งเหม็น (ย่า) ก็บ่เห็นภูมีล่วงมาตามส้น (กาไก) เลยบ่เห็นยังส้นบาคราญพรากห่าง (ผาแดง).
  • สนลนสนล้าว
    แปลว่า : คนที่ทำอะไรไม่ละเอียดถี่ถ้วน ทำเพียงลวกๆ เรียก สนลนสนล้าว.
  • สบ
    แปลว่า : ริมฝีปาก เรียก สบ ผีสบ สีสบ ก็ว่า ผาลหรือหัวหมูสำหรับไถนา เรียก สบไถ หมากสบไถ ก็ว่า.
  • สบ
    แปลว่า : สวมหรือใส่เรียก สบ อย่างว่า นางคราญสบเกษผมงามละห้อย (กา) บาก็ปุนมาลัยให้จอมนางสบเกษ (กา) เสกมนต์ เรียก สบมนต์ อย่างว่า แม้นจักสบเป่าปลิ้นคืนได้บ่ห่อนกลัว (กาไก).
  • ส้ม
    แปลว่า : เปรี้ยว เรียก ส้ม.
  • ส้ม
    แปลว่า : ชื่อผลไม้หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยว เรียก ส้ม เช่น หมากส้ม ต้มส้ม แกงส้ม.
  • สวก
    แปลว่า : ทิ่ม ตำ แทง เช่น ไม้แทงตีน เรียก ไม้สวกตีน.
  • สวง
    แปลว่า : สงสัย งงงวย อย่างว่า คึดฮุ่งฮู้ใจบ่าสวงจิต (ฮุ่ง) อ่านว่า สะ-หวง.
  • ส่วง
    แปลว่า : แข่ง การแข่งเรือ เรียก ส่วงเฮือ การส่วงเฮือเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ชาวอีสานที่ตั้งบ้านอยู่ใกล้แม่น้ำจะมีการส่วงเฮือเป็นประจำในฤดูน้ำหลาก โดยกำหนดเอาวันออกพรรษาเป็นต้นไป.
  • ส่วง
    แปลว่า : หลีกไป หลบไป เล็ดลอดไป การไล่สัตว์ป่าเข้าหน่าง ถ้ากวางออกทางหน่างเรียก ส่วงหน่าง ออกทางคนล้อมเรียก ส่วงแอ้ม ออกทางคนผู้เป็นหัวหน้าเรียก ส่วงโยง.