ภาษาอีสานทั้งหมด 6402 - 6411 จาก 17431
-
ป๊ก
แปลว่า : มีเสียงดังอย่างนั้น เช่น ของหนักตกลงถูกที่แข็งเสียงดังป๊ก อย่างว่า ตกใส่น้ำดังป๊ก ตกใส่บกดังท่วน ตกใส่ป่าหญ้าปล้องดังก้องทั่วเมือง (เสียว). -
ปกติ
แปลว่า : ธรรมดา เป็นไปตามเคย ไม่แปลกไปจากเดิม เรียก ปกติ ปรกติ ปักกะติก ก็ว่า อย่างว่า ท่อว่าปกติน้อยประสงคืชมดวงดอก ละอองโอบแก้มสองข้างไขว่แถว (สังข์). -
ปการ
แปลว่า : อย่าง ชนิด (ป. ปฺการ) อย่างว่า น้องกล่าวท้าวถามที่ทุกกลอน คราวนี้เป็นประการรือท่องทางเทียวช้า ศิลป์ชัยต้านมีอำน้องนาถ เล่าพากย์เผี้ยนคำแค้นแค่ทาง (สังข์). -
ปฏิจาก
แปลว่า : ว่าง เว้น อย่างว่า ให้ค่อยขันตีไว้เอาใจปฏิจาก (ผาแดง). -
ปฏิพัทธ
แปลว่า : เนื่องกัน ผูกพัน รักใคร่ (ป.) อย่างว่า แม้นชื่อนงนาฏน้อยนางลูกกุมภัณฑ์ก็ดี มันนั้นไปเป็นดีอยู่ในวังน้ำ คูดั่งปฏิพัทธพร้อมผัวเมียยังต่อกันดาย ชอบเมื่อเฮาฮาบได้ฟายน้ำพระเนตรมา แท้แล้ว (สังข์). -
ปฏิสนธิ
แปลว่า : เกิดในท้อง ถือกำเนิด (ป.). อย่างว่า องค์หนึ่งเข้าฮ่วมท้องจันทาราชเทวี แม้นว่านางทั้งหกก็เล่ามานมีท้อง ปฏิสนธิเท้ทำกระบวนอันหลาก ด้วยเหตุให้ลือล้ำโลกอาย (สังข์). -
ปฐพี
แปลว่า : แผ่นดิน (ป. ปฐวี) อย่างว่า ภาคหนึ่งคือคู่ฟ้าฟางขาดแสงสูรย์ ปฐพีดลมืดมัวมีแจ้ง บัดนี้ภูมีเจ้ามาเปลืองปลดโทษ ล้างบาปเบื้องฝูงข้าขอบคุณ แท้แล้ว (สังข์). -
ปฐม
แปลว่า : ที่หนึ่ง ที่แรก เบื้องต้น (ป.) อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางปฐมเถ้า เชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์). -
ปฐมกรรม
แปลว่า : ชื่อพิธีกรรมแบบหนึ่งซึ่งกษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์ของตน. -
ปณม
แปลว่า : กราบไหว้ อย่างว่า เมื่อนั้นนิมนต์พร้อมสังโฆโฮมฮีบ ประดับนาคแล้วปณมเท้าที่ควร (สังข์) สุปีนังนั้นพระองค์ฝันเห็นหลาก แล้วท่อนี้ปณมไหว้ที่ยำ ก่อนแล้ว (สังข์).