ภาษาอีสานทั้งหมด 7811 - 7820 จาก 17431
-
มึกกึ๊ก
แปลว่า : คนที่มีลักษณะผิวดำอ้อนและเตี้ย เรียก ดำมึกกึ๊ก. -
มึง
แปลว่า : คนที่เราพูดด้วยคือ มึง ผู้พูดคือ กู กูกับมึงเป็นคำสามัญใช้พูดกันทั่วไป ไม่ถือเป็นคำหยาบ อย่างว่า มึงนี้คือคู่หนูชิงน้อยเล็มเลียคมดาบ จริงรือ กูจักเปื้องป่ายแผ้วศรซ้ำมิ่งมรณ์ แท้แล้ว (สังข์). -
มึน
แปลว่า : โรคเหน็บชา ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการชาตามผิวหนัง เรียก โรคมึน มึนเซีย ก็ว่า. -
มึน
แปลว่า : ดื้อดึง ไม่อาย คนที่ดื้อดึงไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนมึน อย่างว่า อันว่าพราหมโณเถ้าชุยชะโกผีเผด ปากก็กล้าทังหน้าเล่ามึน (เวส-กลอน). -
มึนทึน
แปลว่า : มืดมัว อย่าว่า มีทั้งฟ้าฟ่างเค้าคุมเมฆมึนทึน มันก็ฮวายอาคมอ่านโอมกางแก้ (สังข์). -
มึนเมื่อย
แปลว่า : อ่อนเพลีย อย่างว่า ก็บ่คลายคีงเถ้าจนใจมึนเมื่อย แสนแสบต้องตาเถ้ามืดฟาง (สังข์). -
มืด
แปลว่า : ไม่มีแสงสว่าง มองไม่เห็น เช่น เวลาพลบค่ำ เรียก มืดซุ้มล้าว มืดจนมองไม่เห็นเรียก มืดอื้อตื้อ อย่างว่า มืดอื้อตื้อคือฟ้าเง่าฝน (กาไก). -
มืน
แปลว่า : ลืม เปิด แย้ม ลืมตาเรียก มืนตา อย่างว่า ใผอยากเห็นใจอ้ายให้มืนตาใส่น้ำแจ่ว คันมันแสบแจ้วแจ้วใจอ้ายก็ดั่งเดียว นั้นแล้ว (ผญา) มืนตาหลิงล่ำนางจวนค้าง (กาไก) ก็ท่อมืนตาเห็นป่าไพรดงด้าว (สังข์). -
มื่น
แปลว่า : ลื่น ลื่นโคลนเรียก มื่นตม อย่างว่า ช่างมาติแถลงล่มตมบ่มีกะติมื่น ติคาดล้มเดือนห้าก่อนฝน (ผญา) ช่างมาติแถลงหล้มตมบ่มีกะติลื่น ตั๋วให้กลืนกินก้างคาค้างอยู่ลักลาน ยามจาต้านนำกันว่าแต่มัก มักอยู่นี้หนีแล้วเล่าลืม (ผญา). -
มือ
แปลว่า : อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขนสำหรับจับ เรียก มือ อย่างว่า เทื่อนี้เทพาน้าวจูงมือมาฮอด เห็นบาทเจ้าติ่วสร้อยกระบวนเบื้องเพิ่งบุญ (สังข์).