ภาษาอีสานทั้งหมด 7851 - 7860 จาก 17431
-
มุย
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เปลือกหนาคล้ายต้นลุมพุก ใบเล็ก ไม่มีหนาม มีสองชนิดคือมุยขาวกับมุยแดง อย่างว่า มุยเหมือดเปล้าเฮืองเฮื่อฮังฮวน ดำดวนหอมเมื่อยามลมต้อง กงสถานพื้นเกียงลมเลียนตาด บานแบ่งต้นแคค้อมแค่ผา (สังข์). -
มุย
แปลว่า : เป็นคำอุทาน เช่น เวลายิงหรือแทงเฉียดไปจะพูดว่า มุย หรือ มื้ย ก็ว่า. -
มุ่ย
แปลว่า : สีขาว สีเหลืองปนสีฟ้า เรียก สีมุ่ย อย่างว่า เนื้อมุ่ยเพี้ยงบุนนากนงบาน เกสาประดับสิ่งมันมวยดั้ว (สังข์) ปะคือชียตั้งแกมแดงคำมุ่ย งามซวาดเด่ดูพ้นซู่ซุม (ฮุ่ง). -
มุสา
แปลว่า : เท็จ ปด (ป.) อย่างว่า มุสาเว้นยังคำตั๋วล่าย ยาได้มับแมบลี้คำเลี้ยวล่ายพราง (สังข์). -
มูค
แปลว่า : ใบ้ เงียบ ไม่มีเสียง (ป.ส. มูค). -
มู่งมู่ง
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงตึฆ้องขนาดใหญ่ดังมู่งมู่ง. -
มูด
แปลว่า : ตีอย่างแรง เช่น ตีด้วยไม้ค้อนอย่างแรงเรียก มูด. -
มูดยูด
แปลว่า : การแสดงหน้าบูดบึ้ง เรียก หน้ามูดยูด บูดยูด ก็ว่า. -
มูตร
แปลว่า : ปัสสาวะ น้ำเบา เยี่ยว เรียก มูตร (ป. มุตฺต). -
มูน
แปลว่า : มั่งคั่ง มั่งมี คงมั่งคั่งเรียก มูน มั่งมูน ก็ว่า อย่างว่า ฝูงหมู่คนขมอดไฮ้ดีได้มั่งมูน (กาไก).