ภาษาอีสานทั้งหมด 8821 - 8830 จาก 17431

  • เสา
    แปลว่า : ชื่อมันชนิดหนึ่ง เรียก มันเสา มันขาช้าง ก็ว่า.
  • เสา
    แปลว่า : ไม้ที่ใช้ตั้งเป็นหลักหรือเป็นเครื่องรองรับสิ่งอื่น มีเสาเรือน เสารั้ว เป็นต้น เรียก เสา.
  • เส่า
    แปลว่า : หอบ อาการหอบเกิดเพราะเหนื่อยมาก เรียก เส่า.
  • เส้า
    แปลว่า : ก้อนดิน ก้อนหิน ไม้ ทั้ง ๓ นี้อย่างใดอย่างหนึ่งที่ตั้งหรือตอกลงกลางเตาไฟ เพื่อรองรับหม้อหุงต้มอาหาร เรียก ก้อนเส้า.
  • เสาแฮก
    แปลว่า : เสาต้นแรกที่ยกขึ้นก่อนเสาอื่นในการปลูกอาคารบ้านเรือน เสาที่ยกขึ้นทีแรกนี้โบราณอีสานเรียก เสาแฮก ยกขึ้นที่สองเรียก เสาขวัญ เสานี้โบราณจะพิถีพิถันยกขึ้นให้ถูกตามฤกษ์ยาม.
  • เสียก
    แปลว่า : ถอ ควยถอก เรียก โค็ยเสียก อย่างว่า บ่ทันเห็นหีเสียกโค็ยไว้ถ้า (ภาษิต) เสียกหุบหู่พออยู่พอกิน เสียกแพ้แว้แพ้บ้านแพ้เมือง (ภาษิต) ลูกเว้ายากพ่อแม่ปากเปียก ลูกโค็ยเสียกพ่อแม่อยากอาย (ภาษิต).
  • เสี่ยน
    แปลว่า : กลึง ไม้ที่กลึงด้วยเหล็กให้กลม เรียก เสี่ยนไม้ อย่างว่า แขนกลมเกลี้ยงแอวนางปานเสี่ยน (กาไก).
  • แส่ว
    แปลว่า : 1. โฉบ เฉี่ยว เช่น ให้เจ้าเอายาวไว้คือกาคาบเอี่ยน อย่าได้เฮ็ดอ้อมป้อมคือฮุ้งแส่วหนู (ผญา) 2. เย็บ ปัก ถัก ร้อย เช่น ดูสะอาดล้ำหลิ้งแส่วไหมคำ แคงคานคุมเครื่องเหลืองสมเสื้อ ลำลำง้อมงามเฉลียวปุนแต่ง ฝูงนี้ลอนเลือกชั้นแฝงเนื้อพี่ไป ว่าเนอ (ฮุ่ง) คำที่ใกล้เคียง : แส่วหนี
  • โส
    แปลว่า : คุยกัน สนทนากัน ปรึกษาหารือกัน การพูดคุยที่ไม่รู้จักจบจักสิ้นตกลงกันไม่ได้ ไม่รู้ว่าใครพูดกับใคร ถ้าพูดคุยกันธรรมดา เรียก โส ถ้าคุยกันเกินกว่าเหตุเรียก โสเหล้ อย่างว่า กินเข้าโตอย่าโสความเพิ่น (ภาษิต).
  • โส
    แปลว่า : ยอมสละชีวิต การยอมสละชีวิต เรียก โส โสสุด ก็ว่า อย่างว่า โสเสียแล้วโสตายซ้ำตื่ม โสทุกข์โสยากเลยบ่เตื้องลงหั้นบ่อนเดียว (ภาษิต).