ภาษาอีสานทั้งหมด 8951 - 8960 จาก 17431

  • เวฬุวัน
    แปลว่า : ป่าไผ่ ชื่ออารามครั้งพุทธกาล ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้างถวายพระพุทธเจ้าเป็นอารามแรก ใกล้เมืองราชคฤห์ อย่างว่า เทื่อนี้จักกล่าวก้ำพุทธโคตรโคดม พระก็เทศนาธรรมโผดภิกขูทั้งห้า แล้วจิ่งเสด็จมาห้องราชคึหาเมืองใหญ่ หยุดอยู่ยั้งสวนไม้ไผ่หลวง (เวส-กลอน).
  • ศก
    แปลว่า : ผม (ข.).
  • ศตภิษัช
    แปลว่า : ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง ดาวพิมพ์ทอง ดาวสตพีช ก็ว่า อย่างว่ามหาเมฆเค้าคะนงเน่งบังบด สุรภาเอียงอว่ายแลงลงไม้ วันนั้นอาทิตย์จรจันทร์แจ้งเดือนสามสตพีช ฉลูฮูปเนื้อเนาซ้อยชอบยาม (สังข์).
  • ศม
    แปลว่า : ความสงบ ความนิ่ง (ป. สม).
  • ศรี
    แปลว่า : มิ่ง ศิริมงคล ความรุ่งเรือง ความสว่างสุกใส ความงาม ความเจริญ เพื่อความเป็นศิริมงคล คนโบราณจะแต่งกลอนก็เอาศรีขึ้นต้น อย่างว่า ศรีสุมังคลเลิศล้ำสิทธิเดชลือชา นาโถสุดยอดญาณไตรแก้ว สวัสดีน้อมในธรรมพุทธบาท คุณพระยกใส่เกล้าชุลีล้ำยอดญาณ (สังข์).
  • ศรีดาจันทร์
    แปลว่า : ชื่อหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของนางสมุณฑากับยักษ์กุมภัณฑ์ อย่างว่า มันก็ใส่ชื่อน้อยนางนาฏศรีดาจันทร์ โฉมเสงียมงามเงื่อนพรหมภายฟ้าเลยเล่าปาเกียรณ์เท้าเถิงนครเมืองนาค ขาท่านท้าวทองล้านลอบเล็ง ชื่อวรุณราชท้าวเป็นอาชญ์ในสมุทร คำกือกองแอ่วโอมเอาน้อย (สังข์)
  • ไถฮุด
    แปลว่า : การไถดินครั้งแรกก่อนที่จะเริ่มฤดูกาลทำนา
  • ศอ
    แปลว่า : คอ.
  • ศอก
    แปลว่า : ส่วนของแขนนับตั้งแต่ข้อพับกึ่งกลางลงไปถึงปลายนิ้วกลาง มาตราวัดของไทยแต่โบราณเท่ากับ ๒ คืบ.
  • ศอกกำมา
    แปลว่า : ศอกที่มือกำไม่แบมือออกเรียก ศอกกำมา.