ภาษาอีสานทั้งหมด 8941 - 8950 จาก 17431

  • เวน
    แปลว่า : มอบให้ เรียก เวน มอบเวนเคนให้ ก็ว่า อย่างว่า พี่จักวางเวนให้อากรสินส่วย ให้แก่เจ็ดแก่นแก้วกูสร้างส่ำราญ พี่แล้ว (สังข์) เฮาจักเวนบริพารพวกพลทังอั้ว บัดนี้โยธาซ้ำเชิญพลพักเพิง พี่ดาย ลุงท่านให้ตื่มฮั้วฮิงต้ายเขื่อนแข็ง (ฮุ่ง).
  • เวนของทาน
    แปลว่า : เครื่องบริโภคอุปโภคที่จะเวนแก่พระสงฆ์ มักจะเวนเป็นสังฆทาน เพราะการให้แก่สงฆ์มีอานิสงส์มากกว่า การเวนคือกล่าวคำถวาย เมื่อกล่าวจบแล้วจึงนำสิ่งของไปถวาย คือไปมอบเวนให้.
  • เวมัตก
    แปลว่า : สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเล (ป.).
  • แข่วแขแม
    แปลว่า : ฟันผุ
  • เวย
    แปลว่า : คำประกอบคำท้ายคำพูดให้หนักแน่น เช่น ไปเถอะเวย กินหยังเวย.
  • เวร
    แปลว่า : ความพยาบาท ความปองร้าย บาป (ป. เวร) อย่างว่า ทุกข์เพื่อคึดเกี่ยวแก้วน้องพี่ทังเจ็ด เวราใดเบียดบังเบียนข้อย บัดนี้บุญแข็งข้วมเวราไลโทษ น้องค่อยทรงสืบสร้างสินซ้อยช่อยเฮา พี่ถ้อน (สังข์).
  • เวสสุกรรม
    แปลว่า : พระวิศวกรรม วิสสุกรรม วิษณุกรรม เพชฉลูกรรม ก็ว่า.
  • เวสสุวัณ
    แปลว่า : ท้าวเวสสุวัณ อย่างว่า จบเพทด้วยมนต์มากยายำ เทิงธรณีใผไป่ปุนปานเพี้ยง เป็นพงศ์เชื้อเวสสุวัณเทวราช พระให้ถือด่านด้าวเป็นเจ้าแห่งผี (สังข์).
  • เวหน
    แปลว่า : ฟ้า ท้องฟ้า อย่างว่า ค้อมว่าพระฮู้แล้วเสด็จจากเวหน ผากฎบนธรรมมาสน์ทองลายแต้ม พอคราวแล้ววัสสาฝนขอระโบก ตกใส่พื้นดินถ้วมหลั่งไหล (เวส-กลอน).
  • เวหา
    แปลว่า : ฟ้า อากาศ (ส. วิห, วิหา) อย่างว่า ค้อมว่าพระฮ่ำแล้วปากคาบเอาปืน ทยานเวหาป่าวพลเฟือนฟื้น ฟังยินเค็งเค็งก้องคณาเนืองครุฑราช แหนแห่เจ้าโดยล้านล่วงไป (สังข์) เสียงปี่ก้องลมล่วงเวหา คอนคอนนันนอกในดังก้อง แต่นั้นนงเนืองเจ้าคำหวาต้านตอบ ชมชื่นหน้าขาวแจ้งจิ่งแถลง (ฮุ่ง) อาชนัยย้ายเวหาเหาะหอบ (กาไก).