ภาษาอีสานทั้งหมด 9271 - 9280 จาก 17431

  • สาด
    แปลว่า : เสื่อ เสื่อที่ทอหรือต่ำด้วยผือกกหรือปอกล้วย เรียก สาด อย่างว่า ฝูงขุนขึ้นโฮงทองเทิงสาด (ฮุ่ง).
  • สาธุการ
    แปลว่า : การเปล่งวาจาเพื่อยืนยันหรือรับรองพิธีทางศาสนาที่ทำไปแล้วว่าถูกต้อง อย่างว่า ฟังยินซว่าซว่าก้องพลพวกสาธุการ เขาก็ผายเงินคำหว่านทานเทให้ คนกวมกุ้มกวนกันชิงยาด ลางผ่องชิ่นเขินเนื้อเปล่าแปน (สังข์).
  • สาธุสา
    แปลว่า : เป็นคำกล่าวขึ้นต้น เพื่อขอความสวัสดีก่อนจะกล่าวคำอื่นต่อไป อย่างว่า สาธุสาวันทาก้มหมอบ ขอนอบน้อมเกษเกล้าเกษา ขอวันทาไหว้ธรรมดวงเลิศ ดวงประเสริฐส่องโลกโลก (สิริจันทร์).
  • ส้าน
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ส้านโด้เด้ ส้านพุ่ม ส้านแม่ก้า เป็นต้น ไม้มีผลกลม ใช้กินได้ อย่างว่า หลิงล่ำไม้ดงส้านป่าสาน (กาไก) ภูวนาถท้าวเทียวท่องเลยลง เซ็นเซ็นเถิงเถื่อนเพียงไพรส้าน ที่นั้นเป็นแดนด้าวขีณีเสื้อใหญ่ มาอยู่ฮั้งตันต้อนด่านดง (สังข์).
  • สานสาน
    แปลว่า : เสีนงดังอย่างนั้น เช่น นกจำนวนมากร้องดังสานสาน อย่างว่า เมื่อนั้นเถรประเสริฐเจ้าเจียระจากเดินไป กลายที่นาเนืองเถิงป่าไพรดงส้าน ฟังยินสานสานฮ้องเสียงคณานกใส่ พรายป่าเปล้าลอลั้วบ่างบน (สังข์) เมื่อนั้นภูวนาถได้ทรงแท่นเงินยาง สานสานเสียงลูกจอมใจกล้า ทันที่เชียงสาไว้นางงามง้อมม่วน ควรแล้วยังอยู่แล้งดอมป้าไป่มา (ฮุ่ง).
  • สาบ
    แปลว่า : กลิ่นเหม็นชนิดหนึ่ง เรียก เหม็นสาบ อย่างว่า เฮียมก็เป็นคนแท้ดูผางผิดชาติ กันนา เยียวว่าเหม็นสาบเนื้อคีงข้อยจิ่งมี ดอกนา (สังข์).
  • สาผล
    แปลว่า : ชายผู้เป็นใหญ่ เรียก สาผล อย่างว่า สาผลน้อยโฉมเฉลียวสองอ่อน (ฮุ่ง) คู่กับสีสาผล หญิงผู้เป็นใหญ่เรียก สีสาผล อย่างว่า สีสาผลแจ่มนางนงหน้า (ฮุ่ง).
  • ส้าม
    แปลว่า : ซ่อมแซม เช่น เรือนรั่วเอาไพหญ้าไปซ่อมแซม เรียก ส้ามหญ้า นาดำแล้ววัวควายไปกัดกินหรือกระปูกัด เอาต้นเข้าไปซ่อม เรียก ส้ามนา.
  • ส้าม
    แปลว่า : ร้อง นกร้อง เรียก ส้าม อย่างว่า กอระวีกส้ามเสียงสร้อยกล่อมไพร (กาไก) ตีกลอง เรียก ส้าม อย่างว่า ข้าขาบกุ้มกลองส้ามส่งไป (สังข์) พูดคุยกัน เรียก ส้าม อย่างว่า ประสงค์เสียงส้ามเชิงเสนห์อ้อยอิ่น (สังข์) ฟังยินโกกิลาส้ามเสียงวอนฮ้องฮ่ำ (สังข์).
  • สามขา
    แปลว่า : คนแก่ที่ถือไม้เท้า เรียก เถ้าสามขา อย่างว่า เถ้าสามขามีปัญญาหาไว้ใช้ (เสียว) สามเกลอสำหรับกระทุ้งดินในหลุมที่ขุดเพื่อตั้งเสาเรือน เรียก สามขา.