ภาษาอีสานทั้งหมด 9291 - 9300 จาก 17431

  • สายยู
    แปลว่า : สายโซ่หรือเหล็กทำเป็นข้อๆ เพื่อล่ามบานประตูให้ติดกับที่ใส่กุญแจ.
  • สายสนอง
    แปลว่า : เชือกด้ายที่ร้อยหนังสือใบลานชนิดเป็นผูก เป็นมัด เรียก สายสนอง.
  • สายสร้อย
    แปลว่า : เครื่องประดับที่เป็นสายยาวๆ ทำด้วยทองคำ ทองแดง หรือเงิน.
  • สายสะพัด
    แปลว่า : สายสำหรับประดับช้างหรือม้า มีสามสาย คือที่หน้าอก ที่ท้อง และที่หาง.
  • สายสะพาย
    แปลว่า : แพรแถบสีต่างๆ เป็นเครื่องหมายอิสริยาภรณ์ชั้นสูง ใช้สะพายบ่า.
  • สายสิญจน์
    แปลว่า : เส้นด้ายยาวๆ ที่พระถือในเวลาสวดมนต์หรือที่เอามาวงรอบบ้านเพื่อความเป็นศิริมงคล.
  • สายอิ้ง
    แปลว่า : เชือกสำหรับผูกรัดกระดุมเสื้อ.
  • สายัณห์
    แปลว่า : เวลาเย็น (ป. สายณฺห) อย่างว่า ป้าซึ่มผู้แห่งเหง้าเฮียงฮ่วมผัวขวัญ ลุงอาวเมาคู่คนควรไหว้ เล็งเห็นสายัณห์คล้อยคลาเสมรเหลื้อมต่ำ ท้าวใหญ่ได้สองท้าวเล่าตาม (ฮุ่ง).
  • สาร
    แปลว่า : หนังสือที่เจ้านายส่งไปติดต่อข้อราชการบ้านเมือง หรือหนังสือส่วนตัวเพื่อกิจการเฉพาะตัว เรียก สาร อย่างว่า ฝันว่าข้าต่างด้าวเดินฮอดเฮียงสาร สีสันคือดั่งโขนเขาแต้ม จาระจาเข้มคำฟุนซึกซาว ภูวนาถน้อยใจวิ่นหว่ากลัว (สังข์).
  • สาร
    แปลว่า : ช้าง ช้างเรียก สาร พลายสาร ก็ว่า เรียกช้างตัวผู้ว่า ช้างพลาย เรียกช้างตัวเมียว่า ช้างพัง อย่างว่า กุญชรช้างพลายสารเกิดอยู่ป่า ยังได้มาอยู่บ้านเมืองกว้างกล่อมขุน (กลอน) กุญชรช้างแนวสารศักดิ์ใหญ่ ตายย้อนมดแดงน้อยๆ แนวนั้นก็หากมี (ย่า).