ภาษาอีสานทั้งหมด 9311 - 9320 จาก 17431

  • ส่ำ
    แปลว่า : หมู่ เหล่า พวก ชนิด อย่างว่า หลายส่ำไม้เลียนล้นป่าสน (กาไก) จัดส่ำเชื้อดาห้างเครื่องเครา (กา) ส่ำหนึ่งพาโลล้นหลับตื่นสูรย์สวย ส่ำหนึ่งเป็นใจวายเปรียบมันมัวไฮ้ คนใดฮ้ายจาฮุนแฮงโลภ ลอนท่อเลี้ยงเสียหน้าเพื่อมัน ลูกเอย (สังข์).
  • สำทาบ
    แปลว่า : บังคับ ขู่เข็ญ บำราบ สันทาบ ก็ว่า อย่างว่า พร้อมล่ายแท้ทังข่มขืนแข็ง คองว่าบาฮามฮาวฮุ่นเฮาแฮงสู้ ลุนมาแท้คำสูญสันทาบ บาก็ขอหม่อมผู้เป็นเชื้อชอบเชียง แม่เอย (สังข์) สำทาบนาบเต็ง ก็ว่า.
  • สำนอง
    แปลว่า : รับผิดชอบ ต้องรับใช้แทน คำนี้แผลงมาจาก สนอง.
  • สำมะปิ
    แปลว่า : สารพัด ทุกสิ่งทุกอย่าง สัพพะปิ สำปะปิ ก็ว่า.
  • สำเริญ
    แปลว่า : สุข สำราญ อย่างว่า ให้ค่อยคงอยู่สร้างศีลแก้วส่ำเริญ พระเอย (กาไก) ยังค่อยเกื้อก่งพื้นเสถียรหมั้นส่ำเริญ (กาไก).
  • สำสา
    แปลว่า : ต้นก้ามปู ฉำฉา ก็ว่า ต้นสำสาเป็นต้นไม้เหมาะสำหรับปลูกครั่ง แต่น้ำหนักเบา สู้ครั่งที่ปลูกต้นแกไม่ได้ ครั่งที่ปลูกต้นแกมีน้ำหนักสีแดง.
  • สำหาว
    แปลว่า : อวดเก่ง จองหอง สะหาว สามหาว ก็ว่า.
  • สิ
    แปลว่า : คำขึ้นต้นเพื่อเสริมข้อความให้เด่นชัดหรือให้สละสลวย โดยมากใช้ขึ้นต้นคำกิริยา เช่น สิไป สิมา สิอยู่ สิกิน เป็นต้น.
  • สิก
    แปลว่า : กระโดขึ้น เรียก สิก เช่น กระโดดขึ้นหลังม้า เรียก สิก อย่างว่า สิกขึ้นม้าคอแง้นแล่นหัน (บ.).
  • สิก
    แปลว่า : ลาสิกขา เรียก สิก เมื่อบวชเป็นพระหรือสามเณรไม่สามารถจะอยู่ในเพศต่อไปก็ลาสิกขาออกมาประกอบอาชีพของคฤหัสถ์ เรียก ลาสิก ลาสิกขา ก็ว่า.