ภาษาอีสานทั้งหมด 9551 - 9560 จาก 17431

  • ไสยาสน์
    แปลว่า : อาสนะสำหรับปูนอน ได้แก่ เสื่อและสาด เป็นต้น.
  • ไสยาสน์
    แปลว่า : นอน อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงภูชัยท้าวเสวยราชเป็งจาล ก่อนแล้ว ฟังยินนนตรีประดับกล่อมซอซุงไค้ ภูมีช้อนชมเชยเอื้อมอุ่น พระก็ไสยาสน์ยั้งยามน้อยหนึ่งฝัน (สังข์) คืนนี้ค้ำไสยาสน์ยามฝันฮอยว่าเทพาเพ็งเพื่อบุญดีฮ้าย อัศจรรย์แท้เห็นกลการหลาก ท้าวบอกแจ้งขาอ้ายคว่างพาย (ฮุ่ง).
  • ไสว
    แปลว่า : สล้าง ดื่นดาษ มาก ชูสะพรั่ง อย่างว่า ไสวต้นจันทน์แดงเดียระดาษ (สังข์).
  • หงดหงด
    แปลว่า : อาการสั่นสะท้านในเวลาหนาว เรียก สั่นหงดหงด งดงด งกงก ก็ว่า.
  • หงวย
    แปลว่า : เอน เอนจนล้มลง เรียก หงวย อย่างว่า จักรวาลโค่นค้านแดนด้าวเดื่องหงวย (กาไก).
  • หง้วยหง้วย
    แปลว่า : เชื่องช้า ช้าๆ เช่น ช้างเดินช้าๆ เรียก ย่างหง้วยหง้วย.
  • หงวยหงั่วน
    แปลว่า : สะเทือน หวั่นไหว อย่างว่า จักรวาลเหลื้องคีรีหงวยหงั่วน (ลึบ).
  • หงส์
    แปลว่า : ชื่อนกชนิดหนึ่งในจำพวกห่าน ตัวโต คอยาว เสียงร้องไพเราะ เรียก นกหงส์ อย่างว่า สัพพะสิ่งช้างม้ามิ่งในนคร ก็บ่กินเกียงหยุดอยู่ซงสลอนพร้อม กับทั้งเนื้อนกเลี้ยงประหิดเหียนหงส์เหิบ ขัวค่อขุ้มกระทากี้ก่างตอง (สังข์).
  • หงส์คำ
    แปลว่า : หงส์ทอง หงส์ทองเรียก หงส์คำ อย่างว่า เจ้าผู้หงส์คำผ้ายกลายเขาคันธมาทน์ เจ้าสิมองใสไม้โพดั้วฮ่มเขียว บาดว่าสาขาไม้โพบางเหลืองหล่น ผัดชิได้อ่าวโอ้คนิงไม้อยู่เขา ละนอ (ผญา).
  • หงอก
    แปลว่า : ขาว ผมหรือขนที่เปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว เรียก ผมหงอกหรือขนหงอก อย่างว่า เถ้าแก่แล้วหัวหงอกขาวพอน เขาหากทำมายาดั่งสาวสิบห้า (ปัสเสนทิ) ชาติที่งัวควายหล้างประสงค์เกียงหญ้าอ่อน คนแก่หัวหงอกแข้วประสงค์ซ้อนจ่อจี (สุด).