ภาษาอีสานทั้งหมด 9571 - 9580 จาก 17431

  • หงำ
    แปลว่า : อาฆาต มาดร้าย อย่างว่า ขานี้ข้าเก่าท้าวเจียมแต่ขาชาย แท้แล้ว ผัดว่าชูเทแถนคู่ควงคราวฟ้า เขาก็หงำความเท้าควงแถนทุกปาก เคียดเพื่อแถนลอเต้าหมู่ช้างลงพร้อมฮว่านเมือง (ฮุ่ง).
  • หญ้ม
    แปลว่า : ขย่ม ข่ม เหยียบ เช่น ขย่มท้ายเรือเรียก หญ้มท้าย หย้ม ก็ว่า อย่างว่า เฮือสิหล่มแฮ่งเหยียบแคม เฮือชิแซมแฮ่งหญ้มท้าย (ภาษิต).
  • หญอ
    แปลว่า : พูดไม่ชัด คนที่พูดไม่ชัดเรียก คนปากหญอ เช่น พูดตัว ก. เป็น ด. ตัว ห. เป็นตัว ข. จะเกิดเพราะลิ้นไก่สั้นหรือเกิดจากกรรมพันธุ์เป็นเรื่องจะต้องพิศูจน์เพื่อหาข้อมูลกัน.
  • หญ้อ
    แปลว่า : ย่อ ย่น ทำให้สั้น เช่น ย่นระยะทางที่ยาวให้สั้น อย่างว่า พี่นี้ว่าอยากหญ้อแม่น้ำให้เป็นแผ่นดินเดียว คราวสองคืนสามคืนอยากหญ้อเป็นคราวมื้อ (ผญา) คนโบราณอีสานที่มีชื่อเสียงในเรื่องย่อแผ่นดินนี้ก็มี เช่น สำเร็จลุน ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ มีคนเล่าให้ฟังว่าท่านไปบิณฑบาตในที่ไกลๆ แล้วกลับไปฉันจังหันที่วัดของท่าน ท่านจะสำเร็จธรรมชั้นไหนไม่ทราบ.
  • หญอง
    แปลว่า : หงิก งอ ผมที่หงิกหรืองอ เรียก ผมหญอง หยอง ก็ว่า อย่างว่า ติบ่อนใดติอ้ายบ่อนใด หรือเจ้าติว่าอ้ายหัวหยอง ตั้งแต่ไก่อี่ยองแม่เจ้ากะยังเลี้ยง (บ.).
  • หญา
    แปลว่า : ระคาย สาก ไม่เรียบ เช่น ปั้นข้าวเหนียวแล้วไม่ล้างมือ เรียก มือหญา.
  • หญ้า
    แปลว่า : พืชที่เกิดตามพื้นดินจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด.
  • หญ้ากับแก้
    แปลว่า : หญ้าที่มีลักษณะคล้ายกับแก้ (ตีนตุ๊กแก) เรียก หญ้ากับแก้.
  • หญ้าขน
    แปลว่า : หญ้าที่มีลักษณะเป็นขนอ่อนๆ ควายไม่ชอบกิน เรียก หญ้าขน.
  • หญ้าขัดมอน
    แปลว่า : หญ้าที่เกิดขึ้นตามสวนหม่อน มีสองชนิดคือขัดมอนผู้ ขัดมอนแม่ หญ้านี้เกิดขึ้น ณ ที่ใดทำให้ที่นั้นรกร้างว่างเปล่า ขัดขวางความงอกงามของพืชอื่น ผู้ที่ให้ชื่อหญ้านี้ว่า หญ้าขัดมอน จึงเหมาะสมดีนัก ที่มันขัดมากที่สุดคือขัดกับต้นมอน.