ภาษาอีสานทั้งหมด 9581 - 9590 จาก 17431

  • หญ้าคา
    แปลว่า : หญ้าที่ใบบางแข็งและคม เรียก หญ้าคา เกิดขึ้น ณ ที่ใดหญ้าอื่นไม่ติดหมดคาหมด เรียก หญ้าคา.
  • หญ้าเครือไผ่
    แปลว่า : เป็นหญ้าเถาใบคล้ายใบไผ่ วัวควายชอบกิน เรียก หญ้าเครือไผ่.
  • หญ้าบ้งหาน
    แปลว่า : หญ้าที่มีใบมนๆ มีจุดแดงๆ ตามใบ เวลาถูกต้องกายจะมีอาการคันเหมือนถูกสัตว์กัดต่อย เรียก หญ้าบ้งหาน.
  • หญ้าบ้านฮ้าง
    แปลว่า : หญ้าสาบเสือ โบราณเรียก หญ้าบ้านฮ้าง เกิด ณ ที่ใดทำให้ที่นั้นรกร้างว่างเปล่า เรียก หญ้าเมืองฮุ่ง ก็มี ที่เรียกหญ้าเมืองฮุ่งนี้ก็น่าจะถูก ถ้านำหญ้านี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น นำเอาทำยาแก้บาดแผล และทำเป็นไม้อัด หญ้านี้มีมากพอที่จะนำมาป้อนโรงงานได้ ถ้าทำเป็นไม้อัดได้ก็ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย.
  • หญ้าหัวหงอก
    แปลว่า : หญ้าที่มีดอกขาวกลมๆ สูงประมาณหนึ่งศอก ชอบเกิดตามที่นารกร้าง เรียก หญ้าหัวหงอก.
  • หญ้าแห้วหมู
    แปลว่า : หญ้าที่ใบเขียวอ่อนๆ เกิดอยู่ตามพื้นดินที่ชุ่มชื้น หญ้านี้เป็นอาหารของหมู เรียก หญ้าแห้วหมู เป็นหญ้าที่มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนโบราณ ใช้แก้โรคได้หลายชนิด.
  • หญิดหญิด
    แปลว่า : อาการคันนิดๆ เรียก คันหญิดหญิด เช่น คันเพราะเหากัด.
  • หญิบ
    แปลว่า : เย็บ เย็บผ้า เรียก หญิบผ้า เย็บเสื้อ เรียก หญิบเสื้อ อย่างว่า แม่เจ้าหญิบแส่วผ้าดาไว้ห่มนอนเจ้าแล้ว (ขุนทึง).
  • หด
    แปลว่า : ร่นเข้า สั้นเข้า เช่น คอสั้น เรียก คอหด แขนสั้น เรียก แขนหด ขาสั้น เรียก ขาหด.
  • หด
    แปลว่า : สรงน้ำ รดน้ำ สรงน้ำพระสงฆ์ เรียก หดสรง รดน้ำต้นไม้ เรียก หดต้นไม้ รดน้ำผัก เรียก หดผัก อย่างว่า หดสืบสร้างพะลานกว้างนั่งปอง (กาไก).